จะรู้ได้อย่างไรว่าถึงเวลาลาออกจากงานแล้ว

quite job 1

“When the joy of the job’s gone, when there’s no fun trying anymore, quit before you’re fired.” – Malcolm Forbes.

คนเราใช้เวลาไปกับงานมากกว่าทุกสิ่งในชีวิต ไม่ว่าครอบครัวหรือเพื่อนที่ก็ยังต้องหลีกทางให้ ไม่เชื่อก็ต้องเชื่อ พนักงานหนึ่งคนใช้เวลา 8 ชั่วโมงต่อวัน 5 วันต่อสัปดาห์ รวมไปถึงการทำงานล่วงเวลาทั้งหลายแหล่ ทั้งได้เงินและทำฟรี เมื่อบวกรวมๆ กันแล้ว ตัวเลขอาจจะทำให้คุณรู้สึกขนลุกเลยแหละ คุณรู้หรือไม่ พนักงานออฟฟิศส่วนใหญ่ใช้เวลา 200,000 ชั่วโมงในชีวิตไปกับงาน นั่นเท่ากับ 8,333 วัน หรือ 23 ปี ไปกับ (โดยไม่มีการพักเข้าห้องน้ำ)

ถ้าเราใช้เวลากับชีวิตมากมายขนาดนี้ไปกับงาน ก็คงจะจริงที่เราอาจจะต้องมีความสุขกับมัน หรืออย่างน้อยก็พอจะทนกับมันได้สักหน่อย แต่ถ้าการมาทำงานแต่ละวันทำให้รู้สึกอยากตายทีละนิดๆ ละก็ ลาออกไหม?

ปัญหาคือเราอยู่กับมันมากจนไม่สามารถมองผ่านมุมมองคนนอกได้ เราอยากลาออกจริงหรือเปล่า หรือแค่อ่อนแอไปเอง คิดไปเองหรือเปล่าว่าทำไม่ได้? เดี๋ยวก็ดีขึ้นหรือเปล่า? จะรู้ได้อย่างไรว่าถึงเวลาลาเดินไปเขียนใบลาออกใส่ซองขาวแล้วจริงๆ วันนี้เรามีเช็คลิสต์ให้ มาดูกันว่าเราสมควรลาออกไปใช้เวลาสองแสนชั่วโมงกับอย่างอื่นแล้วหรือยัง?

ลาออกเพราะหมดpassion

หมดสิ้นแล้วซึ่งความกระตือรือร้น
ลาออกสะน่าจะดีกว่า


กาแฟแก้วที่หกเข้าไปแล้ว แต่ก็ยังเดินเหมือนซอมบี้ในออฟฟิศอยู่หรือเปล่า คุณสนใจสิ่งที่เขาคุยกันในห้องประชุมน้อยลงและน้อยลงทุกที? ถ้าฟังดูคุ้นๆ ละก็ มันอาจจะเป็นสัญญาณเตือน ว่า “คุณไม่อินกับงานแล้ว” (ในกรณีที่เคยอินกับมาก่อนอ่ะนะ) ความกระตือรือร้นคือกุญแจสำคัญที่จะทำให้ผลงานของคุณเป็นที่ประจักษ์และประสบความสำเร็จทางการงาน การหมดไฟจะทำให้คุณดูเหมือนคนที่อยากเดินออกจากห้องประชุมทุกเมื่อ และไม่ช่วยเพื่อน Brainstorm ไม่ตอบโต้เจรจาใดๆ ไปจนถึงการผลัดวันประกันพรุ่งงานครั้งแล้วครั้งเล่า ทั้งหมดนี้จะส่งผลต่อค่า KPI ในการประเมิณประสิทธิภาพงานด้วย และไม่ใช่ในทางที่ดีแน่นอน เพราะฉะนั้นหากรู้สึกหมดไฟ ควรสำรวจความรู้สึกจริงๆต่องานนี้ ว่าถึงเวลา”ลาออก”จริงๆแล้วหรือยัง?

ลาออกเพราะความเครียด

ความเครียดเกินควร
ลาออกสะจะได้จบๆ ไป

บางทีจิตใจคนเรามันซับซ้อนเกินกว่าจะตอบได้ว่าทำไมถึงนอนไม่หลับมาหลายคืนติด หรือทำไมวีนแตกใส่คนอื่นบ่อยจัง จิตแพทย์อาจบอกว่านี่คืออาการของคนที่สืบหาที่มาของความเครียดไม่ได้

เพื่อสำรวจตัวเองว่าสาเหตุของความเครียดมาจากงานหรือเปล่า ลองพยายามทำความเข้าใจกับความเครียดต่างๆ ที่คนเราต้องเผชิญทั้งทางกาย ทางอารมณ์ และต้องเข้าใจว่าความเครียดเกินขึ้นได้ง่ายกว่าที่คิด การนั่งบนเก้าอี้ที่ไม่สบาย หรือทำงานในที่ที่มีเสียงก่อกวนก็ทำให้เกิดความเครียดทางกาย ในขณะเดียวกันการต้องต่อล้อต่อเถียงกับเพื่อนร่วมงานบ่อยๆ ทำให้เกิดความเครียดทางอารมณ์ ทั้งสองอย่างสามารถนำไปสู่การตอบสนองกับความเครียดทางด้วยพฤติกรรมต่างๆ เช่น นอนไม่หลับหรืออาการฉุนเฉียว เป็นต้น

หากหาที่มาไม่ได้ พฤติกรรมแบบนี้จะเริ่มกลายเป็นอาการเรื้อรัง ทำให้ซึมเศร้าและอื่นๆ อีกมากมาย ลองประเมินความเครียดของตัวเองดูทั้งทางกายและจิตใจ มันมีความเชื่อมโยงกับงานแค่ไหน หากเริ่มเห็นสัญญาณเตือนแล้วละก็ คุณอาจมีเหตุผลให้ต้องดูแลตัวเองมากขึ้น ไม่แน่การลาออกจากงานและเปลี่ยนงานก็อาจเป็นทางออกที่ดี

ลาออกเพราะรู้สึกไร้ค่า

รู้สึกไร้ค่า อยู่ไปก็ไม่มีใครสนใจ
ลาออกยังจะดีสะกว่า

อะไรจะแย่ไปกว่าความรู้สึกว่าตัวเองไม่มีความหมายในที่ทำงาน ความรู้สึกนี้อาจเกิดจากตำแหน่งของคุณไม่เป็นที่สนใจ หรือไอเดียที่คุณเสนอไปนั้นถูกหัวหน้าหรือเพื่อนร่วมงานเพิกเฉย ต้องบอกให้ชัดเจนก่อนว่า หากสิ่งนี้เกิดขึ้นกับคุณ นั่นไม่ได้หมายความว่าคุณไม่ดีพอ บริษัทคงไม่จ้างคุณตั้งแต่แรกถ้าเขาเห็นว่าคุณไม่มีความสามารถ แต่มันสามารถเกิดจากเหตุผลหลายอย่าง รวมไปถึงการต้องรับมือกับหัวหน้าที่ไม่ยอมปล่อยให้งานให้คนอื่นทำ หากไอเดียของคุณถูกตีกลับตลอดมาเป็นเวลานาน ตอบตัวเองตรงๆ หากทำงานต่อไปกับบริษัทที่ไม่ให้ค่ากับความคิดของคุณหลังจากที่คุณพยายามที่สุดแล้ว ก็ไม่รู้จะเข็นครกขึ้นภูเขาไปทำไม ลาออกไปในที่ที่เขาต้องการคุณเถอะ

ลาออกเพราะเวลา

ไม่มีชีวิตส่วนตัว
ถ้าออกน่าจะมีเวลาเพิ่มขึ้น

เมื่อใดก็ตามที่คุณเริ่มต้องแคนเซิลแพลนไปเจอเพื่อนหรือเข้าสังคมเพราะคุณต้องอยู่ออฟฟิศจนดึกดื่นบ่อยเกินไปแล้วละก็ อาจจะถึงเวลาคิดถึงเรื่อง work-life balance กันใหม่ แน่นอนเราทุกคนอยากทำงานของตัวเองให้ดี และแน่นอนว่าการทำงานก็คงไม่ใช่เรื่องสบายอยู่แล้ว แต่มีชีวิตที่อื่นนอกออฟฟิศบ้างก็เป็นเรื่องจำเป็นเช่นกัน อย่าลืมว่ามนุษย์เป็นสัตว์สังคมที่ต้องอาศัยการปฎิสัมพันธ์กับผู้อื่นเพื่อสุขภาพจิตที่ดี หากทำข้อนี้ไม่ได้ มันจะเริ่มนำไปสู่ปัญหาสุขภาพจิต เช่นความเครียด หรือภาวะซึมเศร้าในที่สุด หากงานหนักแบบนี้มาเป็นช่วงๆ เช่นโปรเจ็คใกล้จะคลอดเต็มที หรือบริษัทต้องทำยอดสูงกว่าเดิม คงพอจะปล่อยไปได้ แต่ถ้าหากงานหนักนั้นมีมาตลอด อันเกิดมาจากความล้มเหลวด้านการจัดการ และดูสถานการณ์เกินเยียวยา อันนี้การลาออกไปหางานใหม่อาจช่วยได้

ลาออกเพราะความเปลี่ยนแปลง

กลัวความเปลี่ยนแปลงไม่ใช่เรื่องแปลก

ความเปลี่ยนแปลงอาจฟังดูเวิ้งว้างไปจนถึงน่ากลัว ในบางครั้งก็ทำให้เราวิตกกังวลไปทั่ว ออกไปแล้วจะทำยังไง “ถ้าเกิด” แบบนี้ “ถ้าเกิด” แบบนั้น แต่จงอย่าให้ความกลัวมาหยุดเราได้ “สิ่งแย่ที่สุดที่จะเกิดขึ้นคืออะไรบ้าง” คำตอบคือไม่มีอะไรน่ากลัวเลย ทำลิสต์สิ่งที่คุณไม่อยากให้เกิดขึ้นมา พยายามเจาะจงให้ได้มากที่สุด หลังจากที่คุณได้เห็นทุกอย่างแล้ว ก็เหลือแค่จัดการกับมันทีละข้อ ความกลัวจะหายไป เปลี่ยนเป็นความมั่นใจที่จะเปลี่ยนแปลงชีวิตแทน

 

หากคุณตรงกับเชคลิสต์ด้านบนนี้ ลองเปลี่ยนงานดูไหม? ที่ GetLinks เราอาจมีตำแหน่งที่เหมาะสมให้กับคุณ

เริ่มออกแบบอาชีพของคุณตั้งแต่วันนี้เลย

อย่ามัวแต่รอให้โอกาสเข้ามาหา คุณสามารถเข้าหาโอกาสดีๆ ได้ด้วยตัวเอง! เราพร้อมช่วยเหลือในก้าวแรกบนหนทางสู่การผจญภัยในอนาคตของคุณ มาออกตามหาโอกาสทางอาชีพใหม่ๆ บนความก้าวหน้าและนวัตกรรมที่ทันสมัย ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของ GetLinks ตั้งแต่วันนี้เลย!

5 1 vote
Article Rating
Subscribe
Notify of
guest
0 Comments
Inline Feedbacks
View all comments
0
Would love your thoughts, please comment.x
()
x