10 เทรนด์ Digital Marketing ที่น่าจับตามอง ปี 2019

ในปี 2019 นี้ วงการการตลาดออนไลน์ หรือ ที่บางคนเรียกกันว่าการตลาดดิจิตอลต้องเผชิญกับความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่  มีกระแสและกลยุทธ์ทางดิจิตอลใหม่ ๆ ถือกำเนิดขึ้นในยุคแห่งความไฮเทคและทุกสิ่งเป็นเรื่องของอินเตอร์เน็ตเช่นนี้ หมายความว่าบรรดาธุรกิจต่างต้องหาวิธีเพื่อสร้างความสำเร็จจากมันให้ได้

อะไรก็ตามที่ใช้ได้เมื่อปีก่อนอาจใช้ไม่ได้อีกต่อไปในปีนี้ ดังนั้นเราจึงต้องปรับตัวเองให้ทันยุค และพยายามนำเอากลยุทธ์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับธุรกิจของคุณมาปรับใช้ วันนี้ GetLinks มี 10 กระแสด้านการตลาดดิจิตอลยอดนิยมประจำปี 2019 และหลังจากนี้มาฝากกัน

1. Micro-Moments

Micro-Moments คือช่วงเวลาที่เรา “หันมาใช้อุปกรณ์ต่างๆ โดยเฉพาะสมาร์ทโฟน เพื่อทำในสิ่งที่จำเป็นต้องทำหรือต้องการในขณะนั้น” 

โดยปกติมนุษย์จะตัดสินใจทันทีว่าอยากทานอะไร เลือกร้านไหน จะซื้ออะไร หรือจะไปที่ไหน ซึ่งเรื่องเกี่ยวกับ Micro-Moments ที่นักการตลาดควรรู้มีดังนี้

การใช้ประโยชน์จาก Micro-Moments ในปี 2019 คือการที่คุณต้องพาตัวเองไปอยู่ในจุดที่ผู้บริโภคกำลังหาข้อมูล หรือตามคำของกูเกิ้ลที่ว่า “นักการตลาดจะต้องอยู่ที่นั่น ทำตัวเป็นประโยชน์ และรวดเร็วเสมอ” 

การที่ Micro-Moments เป็นที่นิยมมากขึ้นเรื่อยๆ หมายความว่า นักการตลาดต้องเริ่มทบทวนเส้นทางการซื้อของผู้บริโภค ซึ่งประกอบด้วยการรับรู้ การพิจารณา และการตัดสินใจเสียใหม่ นับแต่ปี 2019 เป็นต้นไป วิถีการเดินทางของลูกค้าจะเป็นแบบวนมากขึ้น นักการตลาดออนไลน์มีหน้าที่จับตาดูวิธีที่ผู้คนคิด เห็น หรือพูดถึงสิ่งๆ หนึ่งให้ไว! พวกเขาต้องการเรียนรู้เกี่ยวกับมัน ดูมัน ซื้อมัน ฯลฯ ตอนนี้เลย การที่เราพึ่งพาสมาร์ทโฟนจนเกือบจะขาดไม่ได้นั้นยิ่งช่วยส่งเสริมสิ่งนี้ 

การจะใช้ประโยชน์สูงสุดจาก Micro-Moments นั้น คุณควรจะ:

  • ระบุช่วงเวลา “ฉันอยากซื้อ” ของผู้บริโภคให้ได้
  • ต้องอยู่ที่นั่นเสมอ ในวินาทีที่ลูกค้าเกิดความต้องการซื้อ
  • คอยป้อนเนื้อหาที่เกี่ยวข้องให้กับลูกค้า
  • ทำให้การซื้อเป็นเรื่องง่าย

หาว่าผู้บริโภคอยากซื้อเมื่อไหร่ > อยู่ให้ถูกที่และถูกเวลา > ให้ข้อมูลที่ลูกค้าสนใจ > ทำให้การซื้อเป็นเรื่องง่าย

นี่ทำให้คุณภาพ ความเกี่ยวข้อง และความมีประโยชน์ของการทำการตลาดออนไลน์ หรือแม้กระทั่งการตลาดแบบดั้งเดิมมีความสำคัญมากขึ้นกว่าที่เคย

2. การตลาดแบบเชื่อมโยงช่องทาง (Omni-Channel)

หากคำยอดนิยมประจำปี 2018 คือคำว่า “การตลาดแบบหลายช่องทาง” คำว่า “การตลาดแบบเชื่อมโยงช่องทาง” ก็ต้องเป็นคำที่มาแรงในครึ่งหลังของปี 2019 แน่นอน โดยการตลาดแบบเชื่อมโยงช่องทางนี้ เป็นกระบวนการของการใช้แพลตฟอร์มที่หลากหลาย (เช่น โซเชียลแอพ หรือการเขียนคอนเท้นต์ตามบล็อค) เพื่อให้ผู้ชมของคุณได้รับประสบการณ์จากหลายช่องทาง

การจะเป็นผู้นำได้ สิ่งที่แบรนด์ต้องทำคือมอบเนื้อหาทั้งเสียงและข้อความ ที่ไร้รอยต่อและเสมอต้นเสมอปลาย โดยใช้สื่อที่มีทั้งหมด รวมถึงทางหน้าร้าน ช่องทางบนโซเชียลมีเดีย ทางออนไลน์ ในแคทตาล็อกและทุกที่เท่าที่คุณจะนึกออก และกลยุทธ์สำคัญก็คือ แต่ละช่องทางควรเชื่อมถึงกันเพื่อผลลัพธ์ที่ดีที่สุด 

สถิติแสดงให้เห็นว่าแบรนด์ที่ใช้ช่องทางต่างๆ 3-4 ช่องทางหรือมากกว่านั้นในเวิร์คโฟลว์แบบอัตโนมัติ มีผลลัพธ์ดังนี้:

  • อัตราการคงความสนใจ (engagement): 18.96% จากช่องทางแบบเชื่อมโยงกัน เทียบกับ 5.4% เมื่อสื่อสารจากช่องทางเดียว
  • ความบ่อยในการซื้อ: สูงขึ้น 250% จากช่องทางแบบเชื่อมโยงกัน เมื่อเทียบกับการสื่อสารช่องทางเดียว
  • มูลค่าเฉลี่ยของการสั่งซื้อ: มูลค่าออเดอร์เพิ่มขึ้น 13% ต่อออเดอร์เมื่อใช้ช่องทางแบบเชื่อมโยงกัน เทียบกับการสื่อสารช่องทางเดียว
  • อัตราการรักษาลูกค้าไว้ได้ (retention): สูงขึ้นกว่า 90% จากช่องทางแบบเชื่อมโยงกัน เมื่อเทียบกับการสื่อสารช่องทางเดียว

ผู้ใช้งานต้องการสิ่งเฉพาะตัว รวมถึงต้องการค้นหาหน้าร้าน ดูสินค้าบนโซเชียลมีเดีย และซื้อสินค้าออนไลน์ หากคุณไม่คอยตามกระแสไว้ให้ดี จะมีคนมาแย่งธุรกิจของคุณไปได้นะ

การลองคิดเส้นทางการเลือกซื้อแทนลูกค้าในอุดมคติเป็นกุญแจสำคัญในการใช้วิธีทำการตลาดแบบเชื่อมโยงช่องทางให้เกิดประสิทธิภาพ

3. การตลาดแบบ Hyper-Personalization

หากคุณอยากโดดเด่นในปี 2019 คุณก็ต้องปรับการตลาดให้เข้ากับตัวบุคคล ซึ่งนั่นหมายถึงการปรับแต่งเนื้อหา ผลิตภัณฑ์ อีเมล์และอื่นๆ 

การปรับเนื้อหาตามตัวบุคคลเป็นเรื่องง่ายที่สุดเท่าที่เคยเป็นมาด้วยข้อมูลที่มีอยู่ อย่างเช่น ประวัติการซื้อ พฤติกรรมของผู้บริโภค และลิ้งค์ที่กดเข้าไปดู รวมไปถึงซอฟต์แวร์ที่ซับซ้อนเพื่อนำมาใช้กับแคมเปญต่างๆ 

เมื่อเราพิจารณาตามสถิติส่วนบุคคลเหล่านี้:

  • 63% ของผู้บริโภคไม่พอใจมากกับการโปรยโฆษณาแบบรวมๆ 
  • 80% บอกว่ามีแนวโน้มมากขึ้นที่จะทำธุรกิจกับบริษัท หากได้รับประสบการณ์ที่เฉพาะตัวบุคคล
  • 90% อ้างว่าการปรับเนื้อหาเฉพาะบุคคลนั้นน่าดึงดูด

ตัวอย่างยอดนิยมของบริษัทที่มีการใช้อำนาจของการปรับแต่งให้เฉพาะตัวมักจะเป็น Netflix และ Amazon จากการที่พวกเขาปรับคำแนะนำสำหรับผลิตภัณฑ์หรือภาพยนตร์ แต่บริษัทอื่นๆ ก็มีการใช้งานที่ประสบความสำเร็จเช่นกัน ตัวอย่างเช่น: 

สตาร์บัคส์ใช้แอพพลิเคชั่นที่สนุกสนานบนมือถือโดยดึงข้อมูลอย่างประวัติการซื้อและตำแหน่งที่อยู่ เพื่อปรับแต่งให้เป็นส่วนบุคคลที่สุดเท่าที่จะทำได้ ลูกค้าสามารถปรับแต่งเครื่องดื่มได้ตามต้องการ อีกทั้งยังช่วยกระตุ้นการใช้ระบบรีวอร์ดมากขึ้น ซึ่งนี่เป็นจุดที่พารายได้ของบริษัททะยานไปถึง 2.56 พันล้านเหรียญ

4. เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI)

เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์จะเข้าครองโลกอย่างแน่นอน! หรืออย่างน้อยก็ยึดครองตำแหน่งงานง่ายๆ บนโลกล่ะ

เมื่อ 2-3 ปีก่อน บริษัทวิจัยตลาดอย่าง Gartner ได้วิเคราะห์เอาไว้ว่าภายในปี 2020 (ซึ่งจากนี้ก็อีกแค่หกเดือนเท่านั้น!) เทคโนโลยีเอไอจะแพร่หลายในเกือบทุกผลิตภัณฑ์และการให้บริการซอฟต์แวร์แบบใหม่ๆ โดยเทคโนโลยีตัวนี้สามารถวิเคราะห์พฤติกรรมของผู้บริโภค ค้นหารูปแบบ และใช้งานข้อมูลจากแพลตฟอร์มบนโซเชียลมีเดียต่างๆ โพสต์ต่างๆ บนบล็อค เพื่อช่วยบรรดาธุรกิจให้เข้าใจว่าลูกค้าค้นพบผลิตภัณฑ์และบริการของพวกเขาได้อย่างไร

ในอีกไม่ช้า เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์จะกลายเป็นเรี่ยวแรงสำคัญที่ขับเคลื่อนอยู่เบื้องหลังบริการหลายๆ แบบ ซึ่งปัจจุบันเราก็เริ่มเห็นมันถูกนำมาใช้บ้างแล้ว เช่น:

  • แชทบอทของฝ่ายบริการลูกค้าต่างๆ
  • การสื่อสารพื้นฐาน
  • การแนะนำผลิตภัณฑ์
  • การสร้างคอนเทนต์
  • การปรับแต่งอีเมล์สำหรับบุคคล
  • การทำธุรกรรมอีคอมเมิร์ซ

ธุรกิจต่างๆที่การนำเอไอมาใช้ในปี 2019 นั้นสามารถลดค่าใช้จ่ายในส่วนของพนักงานและเพิ่มอัตราการเติบโต ทำให้ได้เปรียบบรรดาคู่แข่งด้วย

5. การตลาดด้านเนื้อหาแบบ SEO ที่ยังดำเนินต่อไป

แม้ผลกระทบจากการอัพเดทอัลกอริธึ่มการค้นหาครั้งล่าสุดของกูเกิ้ลเมื่อเดือนมีนาคมปี 2019 จะยังเป็นที่วิเคราะห์กันอยู่ แต่สิ่งที่บ่งชี้ในช่วงต้นก็แสดงให้เห็นว่าเนื้อหาที่ได้รับการอัพเดทอย่างสมบูรณ์เป็นประจำกำลังกลับมาได้รับความนิยมอย่างมากอีกครั้ง

การตลาดด้านเนื้อหาคือสิ่งที่สำคัญมากจน 88% ของนักการตลาดเนื้อหาที่ดูแลการตลาดธุรกิจ ต่างเห็นด้วยว่าการมีเนื้อหาต่างๆ จะทำให้ผู้ชมรู้สึกว่าองค์กรของพวกเขาดูน่าเชื่อถือและเป็นแหล่งข้อมูลที่ไว้ใจได้

และนี่คือสถิติจากสถาบันการตลาดด้านเนื้อหา:

  • การทำตลาดแบบเนื้อหามีต้นทุนต่ำกว่าทำการตลาดแบบ outbound ถึง 62% และสร้าง lead มากกว่าถึง 3 เท่า
  • การทำการตลาดด้านเนื้อหามีต้นทุนที่ต้องจ่ายล่วงหน้าต่ำกว่า และมีผลในระยะยาวที่ลึกมากกว่าการจ่ายเงินซื้อพื้นที่โฆษณา
  • ผู้ใช้งานอุปกรณ์กว่า 615 ล้านคนต่างก็บล็อกโฆษณากันทั้งนั้น ซึ่งแปลว่าโฆษณาที่คุณทำออกไปจะไม่ค่อยมีใครเห็นมากนัก
  • ธุรกิจขนาดเล็กที่ทำบล็อคของตัวเองมีการเติบโตของ lead นำหน้าบริษัทที่ไม่มีบล็อคเป็นของตัวเองกว่า 126% 
  • การทำการตลาดแบบเนื้อหาสร้างอัตราเข้าชมเนื้อหาได้มากกว่าวิธีอื่นๆ ถึง 6 เท่า

ด้วยความที่กูเกิ้ลยังคงให้ความสำคัญกับบทความต่างๆที่ทำวิจัยมาเป็นอย่างดีและมีการอัพเดทอยู่เสมอ การทำการตลาดด้านเนื้อหาจึงเป็นอีกสิ่งที่นักการตลาดจะลงทุนกับมันต่อไป สรุปก็คือ การทำการตลาดแบบเนื้อหานั้นเป็นวิธีที่ดีสำหรับการดึงดูดลูกค้ารายใหม่ๆ ให้เข้ามาชมเว็บไซต์ และสร้างความสัมพันธ์กับพวกเขาด้วยวิธีที่จริงและวัดผลได้ตลอดช่วงระยะเวลาหนึ่ง

6. การทำการตลาดด้วยวิดีโอ

การทำการตลาดด้วยวิดีโออาจเรียกได้ว่าเป็นหนึ่งในกระแสด้านการตลาดที่สำคัญที่สุดในปัจจุบัน และน่าจะยังคงเป็นเช่นนั้นในอีก 5-10 ปีข้างหน้า หรืออาจเป็นกระแสที่สำคัญที่สุดก็เป็นได้ ตัวเลขต่อไปนี้แสดงให้เห็นถึงความสำคัญของการผสานวิดีโอเข้าไปในกลยุทธ์ทางการตลาดดิจิตอลของคุณในปี 2019

  • 70% ของผู้บริโภคบอกว่าพวกเขาเคยแชร์วิดีโอของแบรนด์มาก่อน
  • 72% ของภาคธุรกิจกล่าวว่าวิดีโอช่วยเพิ่มอัตราการเปลี่ยนคนทั่วไปมาเป็นลูกค้า
  • วิดีโอเป็นวิธียอดนิยมที่สุดที่ลูกค้าต้องการเรียนรู้เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ของแบรนด์มากขึ้น

 

อย่างไรก็ตาม หนึ่งในประโยชน์ที่มีค่ามากที่สุดของการทำแคมเปญการตลาดด้วยวิดีโอก็คือ มันช่วยให้เราปรับเปลี่ยนรูปแบบของเนื้อหาได้อย่างง่ายดาย ลองจินตนาการว่าคุณอัดวิดีโอสำหรับลงยูทูป แต่แทนที่จะเผยแพร่มันผ่านยูทูปคุณยังสามารถ:

  • ถอดความออกมา เพื่อที่คุณจะได้มีวิดีโอที่เป็นเวอร์ชั่นตัวอักษรได้
  • เผยแพร่เนื้อหาที่ถอดออกมานั้นบนบล็อคของคุณ โดยฝังวิดีโอจากบนยูทูปเข้าไปด้วยเพื่ออันดับที่ดีขึ้น
  • อัพโหลดวิดีโอลงเฟสบุ้ค พร้อมกับมีเนื้อหาที่ถอดความเป็นซับไตเติล
  • เปลี่ยนเนื้อหาที่ถอดความนั้นให้กลายเป็นบทความเดี่ยวๆ บนบล็อค โดยปรับแก้เล็กน้อยและเพิ่มสติถิหรือรูปภาพที่เกี่ยวข้องเข้าไปด้วย

 

อย่าลืมในส่วนของสตอรี่บนโซเชียลมีเดียต่างๆ ด้วยล่ะ! เพราะมันเป็นส่วนที่จะคงอยู่แค่สั้นๆ แล้วก็จะหายไปตามช่วงเวลาที่ตั้งไว้ ดังนั้นนี่จึงเป็นโอกาสอันดีสำหรับนักการตลาดที่จะใช้ประโยชน์จากความกลัวว่าจะตกกระแสของคนยุคปัจจุบัน

 

ประโยชน์ของการดึงเอาสตอรี่บนโซเชียลมีเดียมาใช้มีดังนี้:

  • ช่วยเพิ่มการรับรู้ให้แบรนด์
  • มีปฏิสัมพันธ์ที่ต่อเนื่องกับผู้ติดตาม
  • คุ้มค่ากับต้นทุนที่เสียไป
  • ช่วยเพิ่มการเข้าชมให้เว็บไซต์ของคุณ
  • เพิ่มโอกาสในการเข้าถึงผู้ชมที่อายุน้อย

7. Chatbots

How many customer support specialists we chat with are actually robots? Most of them.

แชทบ็อทจะยังเป็นส่วนสำคัญสำหรับการตลาดดิจิตอลในปี 2019 ต่อไป เทคโนโลยีที่ใช้เอไอตัวนี้ใช้ข้อความแบบตอบกลับทันทีเพื่อการสนทนาแบบเรียลไทม์ ไม่ว่าจะกลางวันหรือกลางคืน ในการคุยกับลูกค้าหรือผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ 

จากผลสำรวจแสดงให้เห็นว่า:

  • 63% ของผู้ทำแบบสอบถามเลือกส่งข้อความออนไลน์กับแชทบ็อทเพื่อสื่อสารกับธุรกิจหรือแบรนด์นั้นๆ
  • แชทบ็อทจะเข้ามาเป็น 85% ของการบริการลูกค้าภายในปี 2020
  • ประโยชน์ที่ดีที่สุดของแชทบ็อทคือ มันสามารถให้บริการได้ตลอด 24 ชั่วโมง (64%), สามารถตอบข้อสงสัยได้ทันที (55%), และตอบคำถามง่ายๆ ได้ (55%)
  • 80% ของภาคธุรกิจจะต้องการแชทบ็อทภายในปี 2020 

แม้แชทบ็อทไม่ใช่มนุษย์ แต่พวกมันก็อาจมีประโยชน์ในการช่วยตอบคำถามต่างๆ อย่างรวดเร็วเหมือนกัน

World-famous Facebook-hosted chatbot from VentureBeat

8. เนื้อหาที่ผู้ใช้งานสร้างขึ้นเอง

นักการตลาดต่างหันมาให้ผู้ใช้งานสร้างเนื้อหาได้เองกันมากขึ้น เพื่อเข้าถึงตลาดกลุ่มมิลเลนเนียนและ Gen Z  การกระตุ้นให้ผู้ชมสร้างเนื้อหาของตัวเองขึ้นมาโดยเสนอสิ่งสิ่งจูงใจให้ จะทำให้คุณสามารถเพิ่มการเข้าถึงและเพิ่มตัวเลขอัตราการเข้าชมเว็บไซต์ได้ดีกว่าที่เคย

มนุษย์มักเชื่อมั่นในคนอื่นเหมือนที่เชื่อตัวเอง มากกว่าจะเชื่อแบรนด์

ที่จริงมีผลการสำรวจชิ้นหนึ่งพบว่ากว่า 90% ของนักช้อปบอกว่าเนื้อหาที่สร้างโดยผู้ใช้ด้วยกันเอง มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อของพวกเขามากกว่าการโฆษณาในรูปแบบอื่น ตัวอย่างเช่น บริษัท GoPro ตัดสินใจมอบช่องยูทูปของบริษัทให้กับเนื้อหาที่สร้างจากผู้ใช้งานจริง แสดงวิดีโอคุณภาพสูงที่สร้างขึ้นโดยลูกค้าที่ใช้กล้องพกพาของแบรนด์ ปัจจุบันช่องยูทูปของ GoPro มียอดผู้ติดตามกว่า 7 ล้านรายแล้ว

การจะก้าวเป็นผู้นำและเพิ่มอัตราการเปลี่ยนบุคคลทั่วไปมาเป็นลูกค้าในปีต่อๆ ไปได้ คุณจะต้องพัฒนาการผลิตเนื้อหาที่ชวนสนทนาอย่างเป็นกันเองและปรับแต่งเฉพาะบุคคล เพื่อแชร์ให้กับกลุ่มเป้าหมายที่ตรงเป้ากว่าเดิม

9. เทคโนโลยีภาพเสมือน (AR) และให้ความรู้สึกสมจริง

สำนักวิจัย Gartner ทำนายไว้ว่าภายในปี 2022 กว่า 70% ของบรรดาผู้ประกอบการจะทดลองใช้เทคโนโลยีที่ให้ความรู้สึกสมจริง และ 25% จะนำมันมาปรับใช้กับการผลิตของตัวเองด้วย

ในขณะที่เทคโนโลยีจำลองภาพอย่าง VR สร้างความตื่นตัวและทำให้ทุกคนรู้สึกตื่นเต้นกับแนวคิดแบบไซไฟที่แสนอลังการ แต่ AR นั้นใช้งานได้จริงในแง่ของการตลาดได้มากกว่านั้น ผู้เชี่ยวชาญต่างทำนายว่าส่วนแบ่งทางตลาดของ AR นั้นจะแซง VR อยู่ดี:

หลายๆ แบรนด์ต่างหันมาใช้เทคโนโลยีตัวนี้กันมากขึ้นเพื่อเพิ่มประสบการณ์ให้กับผู้บริโภคและเพิ่มยอดขาย

ด้วยความที่เทคโนโลยี AR นั้นมีการพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว วันหนึ่งในอนาคตเราจะเห็นแบรนด์จำนวนมากนำมันมาใช้ประโยชน์อย่างหลากหลาย

10. Progressive Web Apps (PWAs)

การสร้างเว็บไซต์ให้เหมือนแอพเป็นการสร้างสรรค์เว็บไซต์ให้มีการทำงานเหมือนแอพพลิเคชั่นในมือถือ คือโหลดได้เร็ว มีการแจ้งเตือน ทำงานได้แบบออฟไลน์ ใช้ประโยชน์จากฮาร์ดแวร์ของอุปกรณ์ และอีกมากมาย โดยไม่จำกัดอยู่แค่แพลตฟอร์มใดแพลตฟอร์มหนึ่ง (แอนดรอยด์ หรือ iOS)

ภายในปี 2020 มีการคาดการณ์ไว้ว่าตัวเลขผู้ใช้งานสมาร์ทโฟนจะพุ่งขึ้นถึง 2.87 พันล้านราย ด้วยจำนวนการเข้าชมเว็บเพจทั้งหมดที่เพิ่มขึ้นเกือบ 50% ทั่วโลกแบบปีต่อปี มือถือจึงกลายเป็นส่วนสำคัญต่อกลยุทธ์ทางการตลาดแบบดิจิตอลของคุณยิ่งกว่าที่เคย:

การทำหน้าเว็บให้เหมือนแอพจะแพร่หลายมากกว่าเดิมอีกด้วย หากโทรศัพท์มือถือมีการวิวัฒนาการอย่างต่อเนื่องเช่นนี้

 

เข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของสังคมนักการตลาดออนไลน์ และพัฒนาความสามารถไปกับเรา GetLinks
เข้าร่วมกับเรา

 

 

 

เริ่มออกแบบอาชีพของคุณตั้งแต่วันนี้เลย

อย่ามัวแต่รอให้โอกาสเข้ามาหา คุณสามารถเข้าหาโอกาสดีๆ ได้ด้วยตัวเอง! เราพร้อมช่วยเหลือในก้าวแรกบนหนทางสู่การผจญภัยในอนาคตของคุณ มาออกตามหาโอกาสทางอาชีพใหม่ๆ บนความก้าวหน้าและนวัตกรรมที่ทันสมัย ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของ GetLinks ตั้งแต่วันนี้เลย!

0 0 votes
Article Rating
Subscribe
Notify of
guest
0 Comments
Inline Feedbacks
View all comments
0
Would love your thoughts, please comment.x
()
x