การทำงานในอนาคตคือการปรับตัว และมันใกล้ตัวมากกว่าที่เราคิด

ปัจจุบัน เรากำลังเผชิญกับปัญหาในแทบทุกขั้นตอน ทุกการปฏิบัติ และทุกอุตสาหกรรมจากเทคโนโลยีดิจิตอล

อีก 20 ปีข้างหน้า มนุษยชาติจะเกิดการเปลี่ยนแปลงยิ่งกว่าช่วง 500 ปีที่ผ่านมา

ถ้าไม่เชื่อลองดูที่กราฟด้านล่างที่ว่าด้วยเรื่อง “ความเร็วโดยประมาณของความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี” ดูสิ

ความก้าวหน้าของมนุษย์ในช่วงเวลาที่ผ่านมา
ความก้าวหน้าของมนุษย์ในช่วงเวลาที่ผ่านมา

รัดเข็มขัดให้แน่น เพราะคุณไม่พร้อมรับความก้าวหน้าที่รวดเร็วขนาดนี้แน่ อนาคตด้านการทำงานนั้นเป็นเรื่องของการทำงานร่วมกันแบบเคียงบ่าเคียงไหล่ ระหว่างมนุษย์และเครื่องจักรอัจฉริยะ ทั้งลูกจ้างและองค์กรต่างก็ไม่ได้เตรียมตัวสำหรับการปฏิวัตินี้

Digitalization เป็นสิ่งที่ไม่อาจเลี่ยงได้ แต่ในบริบทของการทำงานนั้นหมายถึงอะไรล่ะ?

คนที่เป็นลูกจ้างในปัจจุบัน มีภาระผูกพันธ์ทางการเงินน้อยกว่าคนรุ่นก่อนหน้าเพราะไม่ได้มีบุตรหลายคน และก็มีจำนวนไม่มากที่เลือกการจำนองเป็นทางออก ในอนาคตพวกเขาจะยิ่งเมินเฉยต่อค่านิยมในที่ทำงานแบบเดิมๆ มากกว่านี้ คนรุ่นใหม่ยอมแพ้กับการหา “งานที่ใช่” ที่ดูเหมือนไม่มีอยู่จริง และหันไปโฟกัสกับการเพิ่มคุณค่า ซึ่งเป็นสิ่งที่เกี่ยวข้องที่สุดแทน

มีคนจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ ที่ยอมเสียสละความมั่นคงเพื่ออิสรภาพในการย้ายงาน ย้ายประเทศ หรือเปลี่ยนอาชีพ กระแสด้านสังคมวัฒนธรรมพวกนี้เอง ที่เป็นตัวกระตุ้นให้เกิดแรงงานทางเลือก หรือที่รู้จักกันว่า adaptive talents (แรงงานที่มีความสามารถในการปรับตัว)

แรงงานที่มีความสามารถในการปรับตัว: เครือข่ายของบุคลากรที่มีการเคลื่อนย้ายและกระจายศูนย์”

อนาคตด้านการทำงานดูเหมือนจะมีหวัง แต่อะไรคือสิ่งที่แรงงานรุ่นใหม่ต้องมีกันล่ะ?

แนวคิดของแรงงานที่มีความสามารถในการปรับตัวนั้นรวมไปถึง:

    • กลุ่มคนที่มุ่งเน้นถึงความสำเร็จของโปรเจคท์ โดยเน้นที่การทำงานร่วมกันและความคล่องตัว
    • การจัดการระดับองค์กร ที่มุ่งเน้นการใช้ข้อมูลเป็นตัวขับเคลื่อนในการตัดสินใจ
    • เพิ่มขีดความสามารถให้แก่ทีม เพื่อคิดค้นนวัตกรรมใหม่ๆ ผ่านวัฒนธรรมของการทำซ้ำ
    • การเพิ่มทักษะอย่างต่อเนื่อง ในฐานะความสามารถหลักขององค์กร
    • แรงงานชั่วคราวที่เป็นบุคลากรภายนอก รวมถึงคนที่เซ็นสัญญาและพนักงานอิสระด้วย

ตัวเนื้องานก็อาจมีเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างมาก ความสามารถในการทุ่มเทให้กับโปรเจคท์ต่างๆ การเพิ่มทักษะและการเพิ่มคุณค่าให้งานจะกลายเป็นสิ่งที่มีค่ามากที่สุด ว่าแต่เราจะกลายมาเป็น “แรงงานที่มีความสามารถในการปรับตัว” ได้ยังไงล่ะ? การเรียนรู้ ไม่ได้สิ้นสุดแค่ตอนที่เราจบการศึกษาในระดับมหาวิทยาลัยเท่านั้น ในทางกลับกัน บุคลากรที่มีความสามารถในการปรับตัวนั้นจะต้องเพิ่มทักษะให้ตัวเองอยู่ตลอดชีวิตการทำงาน

กลุ่มนักพัฒนาสามารถสร้างผลกระทบที่ยิ่งใหญ่ราวกับบริษัทยักษ์ใหญ่และรัฐบาล

แล้วเราจะตามหาคนพวกนี้ได้จากไหน? ผู้เชี่ยวชาญทำนายไว้ว่า ลูกจ้างมีแนวโน้มจะใช้เครื่องมือการทำงานทางไกลบนออนไลน์ เพื่อทำงานร่วมกับคนอื่นๆ จากทุกมุมโลกในโปรเจคท์ต่างๆ รวมถึงสร้างรายได้จากเวลาทำงาน บางแพลตฟอร์มและเครื่องมือพื้นฐานที่ใช้ทำงาน/ทำโปรเจคท์ร่วมกันทางไกลก็มีการใช้งานแล้วในปัจจุบัน ซึ่งผู้ว่าจ้างก็จะพบกับบุคลากรด้านเทคโนโลยีเจ๋งๆ ที่กระจายตัวอยู่ทั่วโลก มีเพียงเทคโนโลยีเท่านั้นที่จะพาเราไปได้ไกลขึ้น และช่วยกำจัดอุปสรรคเพื่อให้เกิดการร่วมมือที่มีประสิทธิภาพจากทุกภูมิภาค

การปรับเป็นระบบอัตโนมัติคือสิ่งที่จะมาช่วยสนับสนุนชุมชน ไม่ใช่ทำลาย

ขณะที่ระบบอัตโนมัติกำลังเข้ามาเปลี่ยนแปลงทุกแง่มุมของชีวิต การเชื่อมต่อที่มีความหมายและความสัมพันธ์ที่แท้จริงของมนุษย์ก็มีค่ามากขึ้นกว่าที่เคย

ยิ่งงานที่ต้องใช้การปฏิสัมพันธ์ของมนุษย์ถูกโอนไปให้เครื่องจักรมากเท่าไหร่ เราจะยิ่งกระหายต่อประสบการณ์ทางสังคมมากขึ้นเท่านั้น วิธีที่เราสื่อสารกันในที่ทำงาน จะถูกเปลี่ยนไปเป็นระบบอัติโนมัติโดยสมบูรณ์ แต่ถึงอย่างนั้น การทำงานก็ไม่ได้หมายถึงแค่การทำหน้าที่ให้เสร็จสมบูรณ์เพียงอย่างเดียว เทคโนโลยีไม่มีวันแทนที่ในแง่ของชุมชน รวมถึงการเชื่อมต่อกันทางสังคม และความรู้สึกที่ได้เป็นส่วนหนึ่งของอะไรบางอย่างได้

ท้ายที่สุดแล้ว สิ่งที่จะทำให้เรารู้สึกรักหรือเกลียดงานตัวเองได้ ก็คือมนุษย์ด้วยกันนั่นเอง

เมื่อเราต้องการคำแนะนำ แรงสนับสนุน หรือแนวทาง เรามักจะหันหน้าเข้าหาชุมชนของบุคลากรที่มีความสามารถ ตั้งแต่นักเขียนโปรแกรมไปจนถึงนักวิทยาศาสตร์เพื่อขอความช่วยเหลือ พูดง่ายๆ ก็คือ บริษัทและแพลตฟอร์มที่มีการให้ผู้เชี่ยวชาญมาช่วยสร้างความน่าเชื่อถือ หรือที่เรียกว่าหลักฐานทางสังคมมา รวมถึงสร้างชุมชนของผู้ใช้งานนั้น จะเป็นบริษัทที่โดดเด่นและก้าวหน้ากว่าที่อื่นๆ

แล้วบุคลากรที่มีความสามารถในการปรับตัวจะอยู่ได้ตลอดรอดฝั่งไหม?

ลองคิดดูว่า หลังจากยุคที่หุ่นยนต์ป้อนโปรแกรมให้ตัวเองได้ มีรถยนต์ไร้คนขับมาแทนที่แท็กซี่ อาชีพไหนจะยังยืนหยัดอยู่ได้อีก?

ชื่อเสียงและความเชื่อมั่นในตัวของคนๆ นั้น จะเป็นตัวช่วยที่ดีเมื่อเป็นเรื่องของเครือข่ายระดับบุคคล ปฏิสัมพันธ์ระหว่างคนเหล่านั้น เป็นสิ่งที่หุ่นยนต์ไม่มีวันแทนที่ได้ อาชีพที่ต้องอาศัยความเห็นอกเห็นใจและปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคล (ในการจ้าง การแนะแนวทาง การสื่อสาร และอื่นๆ) น่าจะได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนไปใช้เครื่องจักรน้อยที่สุด ดังนั้น บุคลากรที่มีความสามารถในการปรับตัวก็จะมีอิทธิพลสูง และไม่มีท่าทีว่าจะถูกแทนที่โดยปัญญาประดิษฐ์ได้ง่ายๆ แน่นอน

การเปลี่ยนแปลงที่สั่นสะเทือนวงการนี้ เป็นเรื่องของการกระตุ้นให้ผู้คนทำงานบนโปรเจคท์ต่างๆ โดยใช้จุดประสงค์เป็นตัวขับเคลื่อน ไม่ใช่สักแต่เอาเครื่องจักรมาแทนที่มนุษย์แค่เพราะมันเป็นยุคของการแทนที่เท่านั้น 

โลกนี้ซับซ้อน แต่ไม่ซ่อนเงื่อน

Samuel Arbesman นักวิทยาศาตร์ที่ศึกษาด้านความซับซ้อนแย้งว่า ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี นำมาซึ่งจุดจบของความสามารถในการเรียนรู้ และการควบคุมสิ่งต่างๆ รอบตัวอย่างที่เราเคยมี

สังคมกำลังคืนสภาพตัวมันเอง และนี่ไม่ใช่ครั้งแรก

สิ่งต่างๆ จะไม่มีแค่ดีหรือแย่ มหัศจรรย์หรือน่ากลัวอีกต่อไป ทุกอย่างจะเกิดขึ้นพร้อมกันในคราวเดียว

– โจชัว คูเปอร์ ราโม

ยิ่งซับซ้อนมากเท่าไหร่ ก็ยิ่งสร้างปฏิสัมพันธ์มากขึ้นเท่านั้น ดังนั้น อนาคตก็มีแววว่าจะท้าทายเรามากกว่าที่เคย ผู้จ้างจะต้องรู้จักปรับเปลี่ยนเครื่องไม้เครื่องมือ และประเมินกลยุทธ์เกี่ยวกับบุคลากรและความจำเป็นในแง่ของแรงงานเสียใหม่ องค์กรต่างๆ จะต้องปรับวัฒนธรรม ความเป็นผู้นำ และโครงสร้างขององค์กรให้เหมาะสมกับมาตรฐานการทำงานแบบใหม่ รวมถึงรัฐบาลก็จะเข้ามามีส่วนในการควบคุมและเคลื่อนย้ายแรงงานของพวกเขาน้อยลง

0 0 votes
Article Rating
Subscribe
Notify of
guest
0 Comments
Inline Feedbacks
View all comments
0
Would love your thoughts, please comment.x
()
x