กระแสและความท้าทายของเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา

การศึกษา

เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาเกิดขึ้นแล้ว และคงอยู่กับเราไปอีกพักใหญ่ๆ นักวิชาการบางท่านให้ความเห็นว่า การนำแท็ปเลตมาใช้แทนหนังสือเรียนทั้งหมดนั้นคุ้มค่าที่จะทำ รวมถึงยกเลิกการบรรยายในห้องเรียน แล้วย้ายกระบวนการเรียนรู้ทั้งหมดมาอยู่บนเว็บอีกด้วย เราได้รวบรวมกระแสของเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา และความท้าทายจากทั่วโลกในปี 2019 มาฝากกัน

กระแสเทคโนโลยีเพื่อการศึกษายอดนิยม

AR and VR

แอพพลิเคชั่นที่ใช้เทคโนโลยีภาพเสมือนจริง (VR) และเทคโนโลยีโลกเสมือน (AR)

คุณไม่จำเป็นต้องรอเทคโนโลยี AR และ VR เพื่อมาเปลี่ยนแปลงการศึกษาก็ได้ เพราะปัจจุบันเรามีแอพที่มุ่งเน้นเพื่อการศึกษาอยู่เต็มไปหมด

แต่ถึงยังไง นักศึกษาในสายการแพทย์ ฟิสิกส์ และชุดทักษะในการผลิต ก็คาดหวังที่จะได้เห็นการใช้ AR เป็นเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาอยู่

เทคโนโลยีสำหรับกลุ่มโปรเจคท์

เทคโนโลยีได้เข้ามาเปลี่ยนวิธีสื่อสารและส่งออกผลลัพธ์ของเราอย่างมาก นักศึกษาที่ทำงานเป็นกลุ่มมักจะใช้ประโยชน์จากเครื่องมือช่วยทำงานแบบออนไลน์อยู่บ่อยๆ อย่างเช่น Google Docs, Trello และ Slack แม้จนถึงวัยทำงาน พวกเขาก็ยังต้องใช้เครื่องมือชนิดเดิมอยู่บ่อยๆ เช่นกัน

เทคโนโลยีการพิมพ์แบบสามมิติ

หรือที่รู้จักกันในอีกชื่อว่าเป็น “การจำลองต้นแบบ” เทคโนโลยีการพิมพ์แบบสามมิติช่วยส่งเสริมขั้นตอนการเรียนรู้ด้วยประสบการณ์ที่จับต้องได้มากขึ้น ไม่ว่านักศึกษาคนไหนก็สามารถทำให้ไอเดียของตัวเองออกมาเป็นรูปเป็นร่างได้ ต้องขอบคุณเทคโนโลยีการพิมพ์สามมิติมา ณ ที่นี้

สำหรับสาขาวิชาที่ใช้การจำลองต้นแบบกันเป็นปกติที่สุด ก็คือภาควิชาฟิสิกส์ ออกแบบ วิศวกรรม สถาปัตย์ และการแพทย์ โดยมีการพิสูจน์แล้วว่าเครื่องพิมพ์แบบสามมิตินั้นช่วยให้พวกเขาได้ปลดปล่อยความคิดสร้างสรรค์ และมีประสบการณ์จริงจากสิ่งที่เรียนได้มากขึ้นด้วย

การศึกษาแบบ E-Learning และหลักสูตรเพิ่มทักษะต่างๆ

ด้วยความที่อุตสาหกรรมด้านเทคโนโลยีเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว และการค้าขายแบบใหม่ถือกำเนิดขึ้น ทำให้ทักษะใหม่ๆ ก็เป็นที่ต้องการตามไปด้วย

โชคดีที่ทุกวันนี้ เรามีห้องสมุดคุณภาพสูงที่มีการพัฒนาอยู่ตลอด รวมถึงมีหลักสูตรทางออนไลน์ให้ทดลองเรียนมากมาย มีหลักสูตรให้เรียนรู้ทางออนไลน์นับพัน ซึ่งการเลือกแพลตฟอร์มที่ใช่นั้นไม่ง่ายเลย และต่อไปนี้ แนวทางการศึกษาแบบออนไลน์ ที่มีประโยชน์ เพื่อช่วยให้คุณได้ประโยชน์จากมันมากที่สุด

ความกังวลใจและความท้าทายที่สำคัญ

ความกังวลใจ

แม้ยังมีสถาบันการศึกษาบางแห่งที่ยังลังเล แต่บางแห่งก็ปรับตัวเข้าหานวัตกรรมด้วยความกระตือรือร้น ทำลายขนบเดิมๆ และหวังให้เกิดความเปลี่ยนแปลงในทางที่ดี แต่เทคโนโลยีก็ไม่อาจตอบโจทย์ความคาดหวังได้เสมอไป มันคุ้มค่าที่เราจะยึดมั่นกับจุดประสงค์ของความเปลี่ยนแปลง คำนึงถึงปัจจัยที่หลากหลาย ชั่งน้ำหนักทุกข้อดีและข้อเสีย และดูให้มั่นใจว่าทุกองค์ประกอบของกระบวนการการศึกษานั้นทำงานร่วมกันได้อย่างดี

เราได้ขอให้ผู้เชี่ยวชาญจากบริษัท Pro-Papers ช่วยสรุปประเด็นหลักที่ผู้สอนควรนำมาวิเคราะห์ ก่อนเอาเครื่องมือบนคอมพิวเตอร์มาบูรณาการกับสภาพแวดล้อมทางวิชาการ

อย่าเพิกเฉยต่อวิธีการที่ได้รับการทดสอบมาอย่างดี จนกระทั่งเกิดความชัดเจนในสิ่งเหล่านี้

แล้วเหล่าผู้สอนพร้อมสำหรับความเปลี่ยนแปลงหรือยัง?

ก่อนจะทุ่มงบให้คอมพิวเตอร์ราคาแพง มัลติมีเดีย จอโปรเจคเตอร์ สมาร์ทเดคส์ กระดานอัจฉริยะ แทปเลตส์ และชุดแว่นตา VR บรรดาผู้สอนจำเป็นต้องเรียนรู้วิธีใช้อุปกรณ์เหล่านี้เสียก่อน จากสถิติพบว่ามีอาจารย์หลายท่านที่ขาดการอบรมทางด้านเทคโนโลยีอย่างต่อเนื่อง รวมถึงการพัฒนาทางวิชาชีพที่ครอบคลุม การลงทุนนั้นจะคุ้มค่าไม่ใช่แค่ลงทุนกับเครื่องไม้เครื่องมือไฮเทค แต่รวมถึงต้นทุนด้านมนุษย์ด้วย เช่น ผู้สอนที่เป็นตัวกลางระหว่างนักเรียนกับเทคโนโลยีได้ เป็นต้น

แล้วการตามให้ทันเทคโนโลยีจะมีต้นทุนมากแค่ไหน?

การซื้อเครื่องมือแพงๆ อย่างเดียวนั้นไม่พอ เพราะโลกของเทคโนโลยีไม่ได้หยุดอยู่กับที่ พวกมันมักมีกระแสใหม่ มีการอัพเกรด และมีเครื่องมือใหม่ๆ มาเสมอ สถาบันการศึกษาควรอัพเดทเทคโนโลยีให้ตามทันโลกอยู่เสมอ ดังนั้น การมีแหล่งเงินทุนที่คงที่จึงเป็นเรื่องสำคัญมาก และต้องคำนวณงบอย่างระมัดระวัง เพื่อที่โรงเรียนจะได้ไม่ตกอยู่ในสถานการณ์ที่ไม่มีโอกาสบำรุงรักษาอุปกรณ์ทางเทคโนโลยีต่างๆ ที่ได้ซื้อมา

จะเป็นอุปสรรคต่อทักษะพื้นฐานไหม?

learning

ผู้สอนหลายท่านมักบ่นว่าเทคโนโลยีทำให้นักเรียนกลายเป็นเด็กขี้เกียจ ไม่ค่อยกระตือรือร้น และเป็นอุปสรรคต่อทักษะพื้นฐานอื่นๆ เพราะหลายกระบวนการที่เคยบีบให้สมองมนุษย์ทำงาน กลายเป็นอัตโนมัติหมดแล้วในปัจจุบันนี้

ตัวอย่างเช่น การเขียนด้วยมือจะช่วยให้เกิดการจดจำข้อมูลได้ดีกว่าการคัดลอกแล้ววางบนแหล่งข้อมูลอีเล็กทรอนิคส์ เครื่องมือช่วยตรวจสอบตัวสะกด ทำให้เด็กๆ ไม่ต้องตรวจหาและแก้คำผิดในรายงานด้วยตัวเอง ไม่มีความจำเป็นที่ต้องทำความเข้าใจสูตรทางคณิตศาสตร์ที่ยากๆ หรือจำข้อเท็จจริงที่สำคัญต่างๆ ในเมื่อเรามีเสิร์ชเอนจิ้นเข้ามาเป็นตัวช่วย

ดังนั้น เมื่อแนะนำนวัตกรรมอะไรสักอย่างในห้องเรียน ผู้สอนก็ควรดูให้แน่ใจว่ามันไม่ไปขัดขวางความสามารถในการคิดและแก้ปัญหาด้วยตัวเองของเด็กๆ

แน่นอนว่า เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาก็มีทั้งข้อดีและข้อเสีย ตัวคุณเองจะเป็นผู้ตัดสินใจว่าตอนนี้เป็นเวลาที่เหมาะสมจะเอาเทคโนโลยีนั้นมาใช้กับกระบวนการเรียนรู้แล้วหรือไม่ แต่อย่าลืมว่าในเวลาที่คุณมัวแต่คิด คนอื่นก็ลงมือทำไปแล้วนะ

 

 

 

เริ่มออกแบบอาชีพของคุณตั้งแต่วันนี้เลย

อย่ามัวแต่รอให้โอกาสเข้ามาหา คุณสามารถเข้าหาโอกาสดีๆ ได้ด้วยตัวเอง! เราพร้อมช่วยเหลือในก้าวแรกบนหนทางสู่การผจญภัยในอนาคตของคุณ มาออกตามหาโอกาสทางอาชีพใหม่ๆ บนความก้าวหน้าและนวัตกรรมที่ทันสมัย ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของ GetLinks ตั้งแต่วันนี้เลย!

0 0 votes
Article Rating
Subscribe
Notify of
guest
0 Comments
Inline Feedbacks
View all comments
0
Would love your thoughts, please comment.x
()
x