ปลดล็อกความสำเร็จในกระบวนการสรรหาของคุณด้วยการสัมภาษณ์ผ่านวิดีโอ !
อยากรู้ว่าจะสัมภาษณ์งานผ่านวิดีโอให้ปังและได้คนเก่ง ๆ เข้าทีมยังไงบ้าง ? บริษัทจัดหางานอย่าง GetLinks มีเคล็ดลับดี ๆ มาบอก ! ไม่ใช่แค่ได้คนเก่ง ๆ แต่ยังช่วยให้บริษัทของคุณดูน่าทำงานมากขึ้นด้วยนะ รับรองว่าเคล็ดลับเหล่านี้จะทำให้การสัมภาษณ์งานออนไลน์ของคุณประสบความสำเร็จอย่างแน่นอน
- เตรียมอุปกรณ์ของคุณให้พร้อม
ก่อนการสัมภาษณ์ ตรวจสอบให้แน่ใจว่าเครื่องมือต่าง ๆ ของคุณพร้อมใช้งาน ซึ่งรวมถึง:
- เลือกแพลตฟอร์มที่เหมาะสม: เลือกแพลตฟอร์มหรือช่องทางการประชุมทางวิดีโอที่น่าเชื่อถือ (เช่น Zoom, Google Meet, Microsoft Teams) และทำความคุ้นเคยกับคุณฟีเจอร์ต่าง ๆ ของแต่ละแพลตฟอร์ม
- ทดสอบอุปกรณ์: ตรวจสอบกล้อง ไมโครโฟน และการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตล่วงหน้าเพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาทางเทคนิคระหว่างการสัมภาษณ์
- เตรียมแผนสำรองไว้เสมอ: มีแผนสำรองในกรณีที่เกิดปัญหาทางเทคนิค เช่น เปลี่ยนช่องทางใน
การสัมภาษณ์ไปเป็นโปรแกรมหรือวิธีอื่น ๆ หรืออาจเลื่อนเวลาในการสัมภาษณ์ออกไปอีกนิด
- สร้างสภาพแวดล้อมที่เป็นมืออาชีพ
อยากให้บริษัทของคุณดูเป็นมืออาชีพใช่ไหมล่ะ ? งั้นมาจัดการเรื่องบรรยากาศในการสัมภาษณ์ให้ดีกัน
- เลือกพื้นที่ที่เงียบสงบ: เลือกสถานที่ที่ปราศจากสิ่งรบกวนและเสียงรบกวน อาจจะเป็นห้องส่วนตัว ห้องประชุม หรือสถานที่อื่น ๆ ก็ได้
- ใส่ใจในการเลือกพื้นหลัง: การเลือกใช้พื้นหลังที่เรียบง่ายจะดูมีความเป็นมืออาชีพมากกว่าการใช้พื้นหลังที่มีสีฉูดฉาดหรือมีลูกเล่นเยอะเกินไป เพราะจะทำให้ผู้สมัครไม่โฟกัสกับการสัมภาษณ์
- แต่งกายอย่างเหมาะสม: แต่งกายให้เหมือนกับการสัมภาษณ์แบบพบหน้ากันจริง ๆ การแต่งกายของคุณควรสะท้อนให้เห็นถึงวัฒนธรรมองค์กรของคุณ ในขณะที่ยังคงความเป็นมืออาชีพและความน่าเชื่อถืออยู่
- วางโครงสร้างการสัมภาษณ์ให้ดี
การเตรียมคำถามในการสัมภาษณ์ไว้ล่วงหน้า จะช่วยให้การสนทนาเป็นไปอย่างราบรื่น และสามารถประเมินเปรียบเทียบผู้สมัครได้อย่างแม่นยำ ซึ่งอาจวางโครงได้ตามนี้
- แนะนำตัวเองก่อน: เริ่มต้นด้วยการแนะนำตัวเองและบริษัทอย่างย่อ ๆ และถามถึงประวัติคร่าว ๆ ของผู้สมัคร เพื่อสร้างบรรยากาศที่อบอุ่นและช่วยให้ผู้สมัครรู้สึกผ่อนคลายมากขึ้น
- เริ่มถามคำถามที่เกี่ยวกับเนื้องาน: ถามถึงสิ่งที่เขาเคยทำมา และถามถึงวิธีการแก้ไขปัญหาในสถานการณ์ต่าง ๆ ส่วนนี้เป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญในการประเมินว่าผู้สัมภาษณ์มีความเหมาะสมกับตำแหน่งงานที่เราเปิดรับหรือไม่
- ปิดท้ายด้วยคำถามของผู้สมัคร: อนุญาตให้ผู้สมัครซักถามในตอนท้ายของการสัมภาษณ์ นี่ไม่เพียงแต่จะให้ข้อมูลที่มีค่ากับพวกเขา แต่ยังแสดงให้เห็นว่าคุณให้คุณค่ากับความคิดเห็นของพวกเขาด้วย
- สร้างการมีส่วนร่วม (Engagement)
การที่ผู้สมัครมีส่วนร่วมในการตอบคำถาม จะช่วยให้เราประเมินเขาได้อย่างถูกต้อง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องทัศนคติ หรือการรับมือกับสถานการณ์ต่าง ๆ
- ใช้คำถามละลายพฤติกรรม: เริ่มต้นด้วยคำถามเบา ๆ เพื่อคลายความตึงเครียดของผู้สมัคร ตัวอย่างเช่น ถามเกี่ยวกับความสนใจหรืองานอดิเรกของพวกเขา
- เป็นผู้ฟังที่ดี: การฟังอย่างตั้งใจจะช่วยให้ผู้สมัครมีความมั่นใจที่จะตอบคำถามของเรา และเป็นการแสดงให้เห็นว่าเราใส่ใจฟังสิ่งที่ผู้สมัครพูดตลอดการสัมภาษณ์
- วางตัวให้ดี เป็นมิตรกับผู้สมัคร: แบ่งปันข้อมูลเกี่ยวกับค่านิยมและวัฒนธรรมองค์กร เพื่อให้ผู้สมัครเข้าใจว่าการทำงานให้กับองค์กรของคุณเป็นอย่างไร และเพื่อเป็นการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับบริษัทด้วย
- แจ้งผลการสัมภาษณ์
หลังจากการสัมภาษณ์ ส่งอีเมลแจ้งผลและขอบคุณผู้สมัครที่ให้เวลากับคุณ เพื่อเป็นการแสดงให้ผู้สมัครเห็นว่าคุณมีควมาใส่ใจในทุกขั้นตอน และเป็นการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีของบริษัท นอกจากนั้นยังเป็นการรักษาช่องทางการสื่อสารกับผู้สมัครไว้เผื่อมีการติดต่อกันอีกในอนาคต
- วิเคราะห์การสัมภาษณ์และประเมินตัวเอง
หลังจากทุกอย่างเสร็จสิ้น ควรใช้เวลาทบทวนการสัมภาษณ์ของตนเองและผู้ร่วมสัมภาษณ์ รวมถึงวิเคราะห์คำตอบของผู้สมัคร เพื่อหาจุดแข็ง จุดอ่อน และนำไปปรับปรุงการสัมภาษณ์ครั้งต่อไปให้ดียิ่งขึ้น
ด้วยการนำเทคโนโลยีการสัมภาษณ์ผ่านวิดีโอมาใช้ร่วมกับกลยุทธ์ที่เหมาะสม จะทำให้คุณสามารถยกระดับกระบวนการสรรหาของคุณให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น และค้นพบผู้สมัครที่ตรงตามที่ต้องการได้อย่างรวดเร็ว
หากคุณกำลังมองหาผู้สมัครที่มีความสามารถตรงตามที่ต้องการทีมงานของ GetLinks พร้อมที่จะเป็นที่ปรึกษาและสนับสนุนคุณตลอดกระบวนการสรรหา !
ติดต่อเราเพื่อสร้างทีมในฝันของคุณได้เลย !