Telemedicine กับการสร้างประสิทธิภาพและการมีส่วนร่วมของคนในองค์กร
เห็นได้ชัดว่าสภาวการณ์ระบาดของ โควิด-19 ได้เพิ่มความท้าทายให้แก่ฝ่ายบุคคลของแต่ละบริษัทเป็นอย่างมาก นอกเหนือจากความท้าทายด้านการสรรหาเเละพัฒนาความสามารถพนักงานเเล้ว ฝ่ายบุคคลยังต้องให้ความสำคัญกับดูเเลสุขภาพกายเเละใจของพนักงานด้วย
การจัดการบุคคลากรที่อาจไม่ได้ประสิทธิภาพเพียงพอ
ช่วงระยะการระบาดของ โควิด-19 ส่งผลให้ฝ่าย HR ต้องมีการจัดการเพิ่มขึ้นได้แก่:
- การคัดกรองระดับความเสี่ยง และการลงเวลางานประจำวัน
- การจัดการรับมือกับสถานการณ์ที่มีพนักงานติดโควิด
- การอัพเดทโซนพื้นที่เสี่ยงจากการระบาดของเชื้อโควิด-19 อย่างสม่ำเสมอ ฯลฯ
- มาตรการการกักตัวในกรณีของผู้ที่เสี่ยง เเละมีการรายงานตัวกระบวนการเหล่านี้ปราศจากการปฏิบัติการหรือควบคุม และยากต่อการนำไปปรับใช้
การทำงานจากบ้านหรือระยะไกล ทำให้การสร้างความมีส่วนร่วมในหมู่พนักงานเป็นเรื่องท้าทาย
ขณะที่พนักงานทำงานจากที่บ้าน เป็นไปได้ยากกว่าที่คนในทีมจะร่วมกันเเก้ไขปัญหาการงานที่คลุมเครือ ต่างจากตอนที่ทีมทำงานร่วมกันแบบซึ่งหน้า และยิ่งไปกว่านั้น ฝ่ายบุคคลยังไม่สามารถจัดกิจกรรมที่เป็นการรวมตัวกัน เพื่อกระตุ้นให้เกิดการปฏิสัมพันธ์ระหว่างงานภายในทีมได้อีกต่อไป การทำให้พนักงานที่อยู่ห่างไกลมีส่วนร่วมอยู่เสมอ จึงกลายความท้าทายที่ต้องใช้วิธีที่สร้างสรรค์มากมายจากผู้เชี่ยวชาญในสถานการณ์เเบบนี้
เริ่มมีความกังวลในการดูแลรักษาสุขภาพเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะการให้ความสนใจกับสุขภาพจิต
อาการเหนื่อยหน่ายหรือ Burnout Syndrom เป็นผลพลอยได้อย่างหนึ่งของทำงานจากที่บ้าน เเละมีการรายงานว่าพนักงานประมาณ 69% มีอาการ burnout ขณะทำงานจากที่บ้าน ทำให้พนักงานหลายคนพยายามมองหาวิธีที่จะรักษาขวัญและกำลังใจ โดยที่รักษาตัวเองให้อยู่ในสุขภาพที่ดีให้ได้มากที่สุด สุขภาพด้านจิตใจของพนักงานจึงกลายเป็นสิ่งสำคัญอันดับต้น ๆ ของฝ่ายบุคคล
ผู้บริโภคเริ่มหันมาใช้ Telemedicine เพื่อดูแลสุขภาพมากขึ้น
สถานการณ์โควิด-19 สร้างข้อจำกัดและความสามารถในการไปพบแพทย์ ทำให้เทรนด์การดูเเลสุขภาพเเบบ TeleHealth เพิ่มมากขึ้น และเริ่มกลายเป็นกระแสหลักอย่างรวดเร็ว ผู้บริโภคเริ่มใช้เทคโนโลยีดั่งกล่าว มากขึ้นอย่างรวดเร็ว จาก 11 เปอร์เซ็นต์ เป็น 46% จากผู้บริโภคที่ใช้ Telehealth ในสหรัฐฯ ในปี 2019 แทนที่การเข้ารับการตรวจสุขภาพเเบบตัวต่อตัวที่ถูกยกเลิกไป
Source: mckinsey.com
ประกันสุขภาพแบบดั้งเดิมมุ่งเน้นไปที่การดูแลการป่วย แต่ไม่ใช่การดูเเลสุขภาพและการบำรุงรักษา
ฝ่ายบุคคลในองค์กรส่วนใหญ่จะทำประกันสุขภาพให้แก่พนักงาน ซึ่งพนักงานที่ป่วยสามารถไปยังสถานพยาบาลด้วยตนเองและนำใบเสร็จมาเบิกได้ แต่กระนั้น สิ่งนี้อาจไม่ได้ตอบสนองความต้องการของพนักงานที่ไม่ได้ป่วย แต่ต้องการที่จะดูแลรักษาสุขภาพของตนเอง ตัวอย่างเช่น พนักงานที่กำลังมองหาคำแนะนำเพื่อวางแผนโภชนาการที่ดีต่อสุขภาพ ซึ่งพนักงานไม่สามารถใช้ประโยชน์จากประกันสุขภาพของตนในข้อนี้ได้ ทำให้ข้อตกลงนี้ไม่พอที่จะเสริมสร้างให้พนักงานดูเเลสุขภาพให้แข็งแรง เพราะบริการนั้นไม่ครอบคลุมถึงการดูแลเพื่อป้องกัน
ข่าวที่น่าตื่นตระหนกได้แพร่กระจายไปอย่างมากทั่วทุกสื่อ ภายหลังจากการระบาดของโควิด 19 ซึ่งสร้างความตระหนักทางด้านสุขภาพโดยรวมมากขึ้น โดยสิ่งที่พนักงานต้องการมากกว่าสิ่งที่ประกันจะครอบคลุมอาจเป็นเรื่องของสุขภาพจิตที่เป็นผลมากจากการต้องทำงานที่บ้านเป็นเวลานานหลายชั่วโมง สิ่งนี้ก่อให้เกิดความท้าทายด้านของประกันสุขภาพ ภายใต้โมเดลทางการเเพทย์ที่กำลังเริ่มปลี่ยนเเปลง
ผู้เชี่ยวชาญด้านฝ่ายบุคคลจึงจำเป็นต้องเริ่มตระหนักถึงสิทธิประโยชน์ของพนักงานในองค์กร เพื่อแก้ปัญหาความต้องการที่กำลังเพิ่มขึ้น และส่งเสริมความสำคัญของการดูเเลสุขภาพและความเป็นอยู่ในที่ทำงานอย่างแท้จริง
เหตใด Telemedicine จึงเป็นทางออกที่น่าสนใจสำหรับฝ่ายบุคคล?
- ต้นทุนที่ถูกกว่า: บริษัทอย่าง GDT ได้เสนอแพ็คเกจสมัครสมาชิกรายปี/พนักงาน ในราคาขั้นต่ำ 1,000 บาท พร้อมให้คำปรึกษาทั้งการดูแลผู้ป่วยและสุขภาพกับแพทย์ได้ไม่จำกัด
- การรับบริการที่สะดวกสบาย: PAGD ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มโซลูชันด้านการดูแลสุขภาพออนไลน์ชั้นนำในประเทศจีน ช่วยให้การเข้าถึงแพทย์ผู้เชี่ยวชาญและแพทย์ที่มีชื่อเสียงจากทั่วประเทศผ่านโทรศัพท์ ง่ายดายยิ่งขึ้นผ่านแอปพลิเคชัน
- การมีส่วนร่วมมากขึ้น: คณะกรรมการส่งเสริมสุขภาพของสิงคโปร์ร่วมมือกับ Apple ในการสร้างแอปพลิเคชันชื่อ LumiHealth ส่งเสริมให้ผู้ใช้มีพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่ดีเพื่อแลกกับคะแนนและบัตรกำนัลส่วนลด
- การพัฒนาไลฟ์สไตล์: ข้อเสนอของ Virta Health ช่วยให้ user มี lifestyle ที่มีสุขภาพดีขึ้นผ่านการพัฒนาจากผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ และสิ่งเหล่านี้ได้กลายเป็นกระแสหลักในตลาดหลาย ๆ ประเทศแล้ว และยังสามารถนำมาเป็นข้อมูลอ้างอิงที่ดีสำหรับตลาดประเทศไทย โดยผู้เชี่ยวชาญด้านทรัพยากรบุคคลสามารถนำไปปรับใช้ได้ความท้าทายด้านทรัพยากรบุคคลได้มีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว และเทคโนโลยีมักเป็นหนทางที่มีประสิทธิภาพที่สุดในการตอบสนองต่อความท้าทายใหม่ๆได้อย่างน่าประหลาดใจ
บทความนี้เขียนโดย นพ. สุทธิชัย โชคกิจชัย แพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มีประสบการณ์มากกว่า 30 ปีในองค์กรด้านสุขภาพต่างๆ ประสบการณ์ของเขารวมถึงการเป็น CEO ของโรงพยาบาลธนบุรี และรองผู้อำนวยการด้านการแพทย์ของโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ ปัจจุบันคุณหมอกำลังสนใจในการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี เพื่อพัฒนาการขนส่งเเละเเจกจ่ายยาในประเทษไทยให้ดียิ่งขึ้นในฐานะหัวหน้าแผนกการแพทย์ใน Good Doctor Technology Thailand โปรดอย่าลังเลที่จะติดต่อคุรหมอได้ที่ GDTTH Inquiry <[email protected]>