Bitkub, Dopple Finance และ DomeCloud ตอบคำถามที่หลายคนสงสัยใน Expert Talk: Cryptocurrency/Blockchain

จบไปแล้วสำหรับ Live Expert Talk: Cryptocurrency/Blockchain เมื่อวันศุกร์ที่ 25 มิถุนายน 25 ผ่านมา ซึ่งงานนี้เราได้เชิญผู้เชี่ยวชาญ ได้แก่

  1. คุณเก่ง พงศกร สุตันตยาวลี Chief Product Officer จาก Bitkub Online
  2. คุณตั้ม โกวิท เจริญรัชตพันธุ์ CEO และ Co-founder จาก Dopple Finance
  3. คุณโดม เจริญยศ  Founder จาก DomeCloud

โดยมี คุณเอ้ พิชญ ศรีฟ้า CTO และ Co-founder จาก GetLinks เป็น Moderator

กับ 2 ช่วงหลัก:

  1. Q&A: ตอบคำถามเกี่ยวกับคริปโตฯ / บล็อกเชน ที่หลายคนสงสัย
  2. Panel Discussion: หัวข้อ คริปโตฯ / บล็อกเชน มีผลอย่างไรกับหน้าที่การงานในอนาคต

สำหรับผู้ที่อาจจะพลาดในบางช่วงบางตอน วันนี้เรารวบรวมประเด็นต่าง ๆ ที่น่าสนใจในไลฟ์ครั้งนี้ สำหรับผู้ที่อาจจะพลาดในบางช่วงบางตอน 

เริ่มจากช่วง Q&A เราได้รวบรวมคำถามจากการสัมภาษณ์คนรุ่นใหม่ว่ามีความคิดอย่างไรกับ Cryptocurrency และอุตสาหกรรมนี้บ้าง 

 

คุณเอ้ : บางคนรู้สึกว่าการลงทุนกับ Bitcoin ในตอนนี้ มันช้าสำหรับพวกเขาเกินไปแล้ว อาจจะไม่ได้เปอร์เซ็นต์กลับมาเท่ากับการลงทุนเหรียญอื่น ๆ คำพูดนี้จริงหรือไม่อย่างไรบ้าง

คุณโดม : ตอนนี้ตลาดเหรียญก็ไม่น่าต่างกันนะ ทุกเหรียญอยู่ในช่วงขาลง คือการเข้าไปซื้อเหรียญแล้วขึ้นสูงๆ เนี่ยมันมีไม่กี่ประเภท เหรียญกาวอะใช่ กลไกการขึ้นของราคาก็ไม่เหมือน Bitcoin เพราะ Bitcoin มันอยู่ในมือคนหลายคน ถ้ามีใครสักคนกระชากราคาขึ้นไปก็ไม่ใช่เรื่องง่าย เหรียญอื่นมันมีโอกาสทำกำไรสูงกว่า Bitcoin แต่ความเสี่ยงมันก็มากกว่าหลายเท่า มันอยู่ที่ว่า ถ้าคุณพร้อมเสียเงินทั้งหมดให้เหลือศูนย์ก็เสี่ยงได้

คุณตั้ม : ผมเคยคิดนะว่าลงทุนใน Bitcoin เนี่ยช้าไปแล้ว ตอนนั้นราคา Bitcoin แพงมาก 1 BTC ราคา 500 บาท นั่นคือปี 2011 500 บาทมันโคตรแพงแล้วอ่ะ มันก็ยังมาเรื่อยๆ ถ้าเกิดดูสถิติย้อนหลัง ใครถือ BTC ไว้เกิน 5 ปี ไม่มีใครขาดทุนเลย มันโตขึ้นเรื่อยๆ ถ้าเทียบกับ USD เพราะฉะนั้นการเริ่มลงทุนวันนี้เนี่ย ลงทุนวันนี้พรุ่งนี้ดอยก็อาจจะใช่ แต่ถ้าถือไว้นานพอ เป็นการลงทุนระยะยาว ยังไงก็แทบจะไม่มีโอกาสขาดทุนเลย กราฟมันพุ่งไปได้อีกเรื่อยๆ ผมเลยคิดว่าไม่ช้าเกินไปที่จะลงทุนใน BTC  ตอนนี้เนี่ยมันยังเป็นตลาด consumer อยู่ corporate เข้ามาแน่ และวันที่ coperate เข้ามาตลาดจะเปลี่ยนโฉมอีกครั้ง เพราะฉะนั้นตอนนี้เนี่ยยังไม่สาย นี่แค่เพิ่งเริ่ม

 

คุณเอ้ : บางคนรู้สึกว่ามันเป็นสิ่งที่ค่อนข้างเครียดมาก ๆ ที่ต้องคอยจ้องกราฟตลอดเวลา ซึ่งพวกเขาไม่ต้องเครียดอย่างนั้นเลยไม่คิดที่จะซื้อมันจริง ๆ แล้วมันเครียดไหม หรือในความจริงเป็นอย่างไร

คุณตั้ม : คือถ้าเกิดจะไม่เครียดมันก็ทำได้ มันมีความเสี่ยงในแต่ละระดับอยู่แล้ว คนที่ลงทุนยาว โยนเงินไปไว้แล้วก็รอ DCA ไปเรื่อย ๆ รอไปเรื่อย ๆงี้ ก็ไม่ต้องเครียดอะไร อันนี้ไม่ต้องดูกราฟเลย ราคาเท่าไหร่ก็ซื้อ ส่วนคนที่จะเทรดทำรอบขึ้นลง ยังไงก็เครียด มีสวิงขึ้นลง ให้กดดันในแต่ละวันอยู่แล้ว ส่วนตัวผมเองก็แบ่งพอร์ตการลงทุน เสี่ยงกลาง เสี่ยงต่ำ เสี่ยงสูง พอร์ตที่เสี่ยงต่ำมาก ๆ ก็ลงใน stable coin ก็ได้ผลตอบแทนที่โอเค โตเรื่อย ๆ แต่ไม่หรูหรามาก แต่ได้ผลตอบแทนดีกว่าฝากธนาคาร

คุณโดม : เครียดครับ แต่มันมีวิธีเล่นแบบเครียด ที่บอกว่าเครียดคือเหรียญที่มันมีจังหวะเวลา คือเมื่อก่อนเวลาเปิดฟาร์มใหม่ เหรียญของฟาร์มก็จะมีระยะเวลาอยู่ประมาณ 10 กว่าวัน กว่าราคามันจะร่วง ก็มีเวลาหายใจแอบมาดูได้ หลัง ๆ เริ่มลดลงมา คนได้ก็เทเลย หนักเข้าหลักเป็นชั่วโมง เอาเข้าไปปุ้ป ชั่วโมงต่อไปปรากฏว่าราคาไม่เหลือแล้ว อันนี้เครียดครับ ถ้าเลือกที่จะเล่นเหรียญที่พึ่งเปิดตัว ใส่เงินเข้าไปไล่ซื้อกับเขา ทุกคนมันแข่งกันขายออกอยู่แล้ว อันนี้เครียดแน่ ๆ ดูกราฟเป็นรายนาทีเลย 

คุณเก่ง : ถ้าเกิดเราเครียดแสดงว่าเราไม่มีอาวุธ เหมือนเราไปรบมือเปล่า แต่เราควรมีอาวุธก่อน อาวุธแรกคือ เครื่องมือที่คุณใช้เทรดเนี่ยเรารู้ลึกหรือยัง Market Order/ Limit Order เรารู้ลึกซึ้งแล้วหรือยัง ว่ามันทำงานอย่างไร ข้อที่สองคือ แพลตฟอร์มที่เราใช้มีเครื่องมืออำนวยความสะดวกให้เราสามารถตั้งกลยุทธ์เพิ่มเติมได้หรือไม่ ยกตัวอย่างเช่น Stop Limit เราสามารถตั้งได้เลยถ้าราคาถึงจุดนี้ให้ส่ง Limit Order แบบไหน เพราะโดยพื้นฐานของมนุษย์แล้ว ความกลัว ความเครียดเกิดจากความไม่รู้ ดังนั้นเวลาไม่รู้ก็ควรหาต่อว่าเราไม่รู้เรื่องอะไร

 

คุณเอ้ : บางคนรู้สึกว่าเขายังไม่มีความรู้เพียงพอที่จะลงทุนกับสิ่งเหล่านี้ อยากหาความรู้ หรือทำความเข้าใจมันได้มากพอก่อน ดังนั้น ในเบื้องต้นนี้ สิ่งไหนบ้างที่พวกเขาควรรู้เพื่อนำมาประกอบกราตัดสินใจในการลงทุน

คุณตั้ม : อย่างน้อยที่สุดต้องรู้ก่อนว่า เหรียญที่เรากำลังจะลงทุนเนี่ยคืออะไร จริง ๆ แล้วการประเมินเหรียญ ประเมิน 2 อย่างคือ Financial Risk กับ Technical Risk จะช่วยให้คุณเข้าใจว่าสิ่งนี้จะไปต่อได้รึเปล่า มี Token มากมายออกมาสู่ตลาด ตั้งแต่มี Product ไปจนถึงไม่มี Product ถ้าเกิดเป็นผมมักจะลงในระยะยาวก็ดูว่า Product มันมีไหม มีโมเดลยังไง ไปต่อได้ไหม ส่วนมากที่ผมหลงทุนจะเป็นตัวที่มี Business Model ที่ชัดเจนว่ามันสร้างเงินได้ในอนาคต และไปต่อได้

คุณโดม : ความรู้สำคัญมาก ยิ่งมาเผชิญบนโลก DeFi ต้องอ่าน Contract เป็นหลัก ถ้าเราไม่รู้จักก็ต้องมีเพื่อนเชื่อถือได้ หรือดู Audit Code นอกจากนั้นเราต้องดูว่าเราจะลงทุนแบบไหน เช่น ถ้าลงครั้งสั้นก็ไม่ต้องดูอะไรเยอะ ดูราคาอย่างเดียว 3 วัน สมมุติโชคดีได้ราคาจากฟาร์มสัก 2-3 เท่า ออกทัน ออกเร็ว ดูจังหวะเป็น อันนี้ไม่ต้องดูอะไรมาก แต่ถ้าจะดูยาวกว่านั้นต้องดูว่าไอฟาร์มนี้ที่มาแจก เบสิคมันทำอะไร มันเอาเงินค่า fee มาจากไหน ที่จะมาซัพพอร์ตในการ buy back 

 

คุณเอ้ : อย่างที่เห็นว่าทวิตเตอร์ของ Elon Musk มีผลกับ Bitcoin อยู่บ้าง กลไลของสิ่งที่เกิดขึ้นนี้เป็นอย่างไร และมีปัจจัยอะไรบ้างที่แปรผันตรงกับ Bitcoin ที่น่าสนใจ หรือที่เราควรศึกษาและติดตาม

คุณเก่ง : ของอย่างงี้มันเกิดขึ้นในโลกคริปโตค่อนข้างเยอะ เมื่อก่อนตอนตลาดช่วงปี 2016-2017 ช่วงนั้นมีเหรียญก็อย่างงี้เลย ตลาดช่วงที่มันดี มันจะรับข่าวสารง่าย แค่โพสต์ทวิตเตอร์ว่าไปกินข้าวกับบริษัทชื่อดัง เหรียญขึ้นไป 2 เท่า หรือมีข่าวว่า McDonald’s จะนำเหรียญนี้มาใช้ในเครื่อง POS ราคาขึ้นอีก 2 เท่า มันคือกลไลของข่าว มีเบื้องหลังไรอีกต่าง ๆ นานา ตลาดก็ทำหน้าที่ของมันเดิม ๆ ซ้ำ ๆ 

คุณโดม : ถ้าเราดูพื้นฐานการขึ้นลงของ Bitcoin มันก็มีปัจจัยเบสิคก็คือ ถ้าซื้อมันจะขึ้น ถ้าเทขายก็ลง ทุกอย่างที่เหลือก็ไม่มีอะไรนอกจากรอข่าว รอกระแส รออะไรบางอย่าง ถ้าไม่มีข่าวอะไรเลยมัยก็จะ side way ไปเรื่อย ๆ พี่คิดว่า Elon Musk เขาโดดเด่นพอสมควร การที่เขาออกมาซัพพอร์ตบางช่วง แรกก็อาจจะได้ผลดีเพราะมันใหม่อะเนอะ เขาจริงจังกับการสร้างราคา พี่ไม่คิดว่าปั่น พี่คิดว่าสร้างราคาให้ Bitcoin ทุกการเคลื่อนไหวของเขามันมีกำไร ต้องรอขาขึ้นรอบหน้าว่าเขาจะยังมีผลกับราคาแค่ไหน

คุณตั้ม : ผมว่ามันสะท้อนภาพอย่างหนึ่งว่า มนุษย์ไม่ได้ใช้เหตุผลในการซื้อของ บางสิ่งถูกกำหนดด้วย emotional มากกว่า มันไม่ได้มีเหตุผลอะไรให้ขึ้นขนาดนั้น แต่คนถูก Drive ง่ายด้วยความรู้สึก 

 

ต่อไปก็เป็นช่วงลงลึกถึงมุมมองในอนาคตมากขึ้น โดยเราจะโฟกัสไปที่ Cryptocurrency และ Blockchain มีผลอย่างไรต่อหน้าที่การงานในอนาคต

 

คุณเอ้ : คิดว่า Background มีผลต่อการเข้ามาเกี่ยวข้องในวงการคริปโตมากน้อยแค่ไหน

คุณตั้ม : ผมว่ามีอิทธิพลมาก ๆ คริปโตในยุคก่อนหน้าจะเป็น Technical ซะมาก แต่ยุคนี้มีคนฝั่ง Finance เข้ามาสร้าง Financial Product ใหม่ขึ้นเรื่อยๆ ในตลาดโลกเป็นกลไกสำคัญที่ Drive ตลาด ผมว่ามันใช้ความรู้ในวิชาชีพที่หลากหลายมากขึ้นในการกระโดดเข้ามาในโลกคริปโต ฟันเฟืองหลัก ๆ คือคนในแต่ละอุตสาหกรรม เอา Blockchain ไปใช้ในอุตสาหกรรมตัวเอง

คุณเก่ง : มีผลนะครับ ผมเองก็จบด้าน Software ก็เลยค่อนข้างเข้าใจเรื่องเทคโนโลยี การเข้ารหัสอะไรอย่างงี้ อ่านแล้วก็เก็ตทันทีว่าสิ่งนี้มันเป็นเรื่องของ Blockchain Bitcoin หรืออะไรต่าง ๆ มันมีประโยชน์จริง ๆ เป็นครั้งแรกที่มนุษย์สามารถส่งสิ่งที่เรียกว่า value ผ่านระบบอินเทอร์เน็ตได้ โดยใช้ Blockchain เป็นพื้นฐาน เมื่อก่อนถ้าเกิดจะส่งเงิน เราไม่รู้เลยว่าเงินที่เราส่งไปถูก copy ได้รึเปล่า แต่การที่จะส่ง value ไปถึงอีกคนได้เนี่ย มันชัวร์ว่าถ้าเราส่ง 1 BTC ไปหาอีกฝั่ง BTC ในกระเป๋าเราลดลงจริง ๆ และ BTC ในกระเป๋าเพื่อนก็ได้ 1 BTC จริง ๆ

 

คุณเอ้ : Blockchain จะมา Disrupt วงการอื่นๆ นอกเหนือจากการเงินหรือไม่ และจะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ยิ่งใหญ่ นอกเหนือจากนี้ในอนาคตได้อีกหรือไม่ 

คุณโดม : พี่ว่า blockchain เนี่ยมันต้องรอคนในโลกอีกที่เขาเจอปัญหา เช่น สมมติโลจิสติกส์ จะส่งของไปต่างประเทศเนี่ย เปิด LC กันวุ่นวายมากเลยนะ อย่างงี้ถ้าพี่ฟังเร็วๆคิดว่ามันเหมาะมาก เหมาะที่จะเอาอันนี้เข้าไปใช้

คุณตั้ม : Logistic เนี่ยชัดมาก ๆ ตอนนี้พอมันเป็น Blockchain อันนี้มันเปิดให้ใครก็ได้ทั่วโลกสามารถไป hitch ราคาน้ำมัน พอเป็น Blockchain แล้วคุณไม่ต้องรอซื้อตลาดในประเทศตัวเองแล้ว มีแพลตฟอร์มหลายตัวที่ประกันราคาพวกนี้ได้ ในอนาคตเนี่ยสมมุติชาวนา ปีนี้ข้าวตันละ 20,000 บาท hitch ราคาข้าวไว้เลยว่า ถ้าเกิดข้าวราคาไม่ถึง 20,000 นะ ได้เท่านั้นเท่านี้ ทำสัญญาขึ้นมา ทีนี้เนี่ยเป็น Product ทางการเงินที่ช่วยในอุตสาหกรรมอื่นๆ โดยใช้ blockchain มาแก้ปัญหาได้อย่างตรงไปตรงมา

 

คุณเอ้ : การเติบโตของวงการ Cryptocurrency จะส่งผลอย่างไรกับอนาคตการทำงานบ้างไหม (Future of Work) 

คุณตั้ม : เราจะซวยกันหมดเพราะว่า Blockchain Developer รวยกันหมดแล้ว Retire กันหมดแล้ว เพราะทำเงินได้ดีจริง ๆ ต่อให้ไม่ได้เงินเดือนนะ Token ที่แชร์ Token ที่แจกเนี่ย หลายคนมีเงินกองในกระเป๋า 10-20 ล้าน สบาย ๆ เพราะ Product มันสร้าง Global Impact อย่างบริษัทเปิดฟาร์มแบบไม่มีอะไรเลยนะ คุณก็ขายลูกค้า Global ตั้งแต่วันแรกและ แทบไม่มีใครทำเว็บหน้าตาภาษาไทย เงินก็ไหลมาจากทั่วโลก 

คุณโดม : กลุ่มคน Developer ที่มันเขียนอะไรที่อยู่บนคริปโตฯ แพลตฟอร์ม โปรเจคในการพัฒนามันไม่นาน พอมันไม่นานและมัน secure ง่ายเนี่ย การ go through market ของ Product เนี่ยมันสั้น คือใช้เวลาเดือนนึงออกของได้ ถ้าไม่โดนก็ออกใหม่ แต่ถ้าโดนมันโดนตลาดทั้งโลก ดังนั้นก็ส่งผลว่า Developer ที่เขียนเป็น จะไม่ต้องการเงินเดือน เพราะฉะนั้นมันก็จะหาได้ยากขึ้นเรื่อย ๆ คือ startup มันต้องมีไอเดีย มี MVP และไปขอเงินใช่ไหมครับ อันนี้ไม่ต้องมี มันมี Product และมันสร้าง go through market เลย ดังนั้นทุกคนก็เลยกลายเป็น entrepreneur ได้ทันทีถ้าเจ๋งจริง

คุณเก่ง : เหมือนเป็นธุรกิจที่มีการ Raise Fund และ Operation ทุกอย่างอยู่ในก้อนเดียว ถ้าเป็นธุรกิจอื่นจะทำอะไรทีต้องหานายทุนก่อนถึงจะทำได้ แต่นี่ตัว Product มันเป็นตัวระดมทุนเลย เพื่ออยู่ใน Ecosystem และมันมาเป็นแพ็ค ทำให้เป็นยุคทองของ Developer จริง ๆ ที่ใครเข้ามาเป็น Blockchain Developer จะได้เปรียบมากในยุคนี้ ใครมีความรู้ ใครมี know-how คนนั้นชนะ

 

คุณเอ้ : มีโปรเจคเกิดขึ้นมากมายในวงการ DeFi หรือคริปโตก็ตาม คิดว่ามีเกณฑ์หรือข้อสังเกตุใดที่จะพิจารณาว่าโปรโจคนั้นเหมาะสมที่ร่วมหรือไม่

คุณโดม : ตอนนี้เข้าสู่โหมดที่ DeFi เริ่มซ้ำๆกัน ทำให้ดูยากว่าใครจะรอดหรือไม่ อันดับแรกต้องดู code มันแหละว่า code มันมี secure ไหม มี audit ไหม จากนั้นให้ดูว่าทีม Marketing เขามีความเป็น Professional แค่ไหน และดู Investor ว่าขนาดมันใหญ่แค่ไหน  

คุณตั้ม : ถ้าเกิดจะดูให้ดูคนทำก่อน แล้วค่อยดูเทคโนโลยี และ Product เพราะเทคโนโลยีตอนนี้ต่างกันน้อยมาก Product ก็ไม่ฉีกหนีกันเท่าไหร่ คล้าย ๆ กัน แต่สิ่งที่สำคัญคือคน เพราะ คนทำให้ Product เนี่ยไปได้ไกลแค่ไหน ยกตัวอย่างเช่น Agoda ถามว่าทำตามกันได้ไหม ก็ไม่ได้เหนือบ่ากว่าแรงถ้าจะทำตาม แต่ทีมที่ Drive ที่สร้างความแตกต่าง จะมีศักยภาพที่จะทำให้เป็น Unicorn แบบที่ Agoda เป็นได้ไหม อันนี้เนี่ยมันวัดกันที่คนนำ ผมเลยให้ความสำคัญกับคนก่อน

คุณเก่ง : Bitcoin เนี่ยมันผ่านการพิสูจน์มาเยอะ ฉะนั้นเนี่ยมันเป็นสิ่งที่ถูกยอมรับ อะไรก็ตามที่ถูกยอมรับมันไม่ใช่เทรนด์ สิ่งที่มันไม่ใช่เทรนด์มันคือ infrastructure มันคือพื้นฐานในสิ่งต่าง ๆ ที่จะอยู่กับเราไปอีกนาน ผมเชื่อว่าใครติดตามข่าว จะรู้ว่ามันโตขึ้นมาเรื่อย ๆ ฉะนั้นผมให้ความสำคัญว่า level ในการให้การยอมรับมันถูกพัฒนาไปอย่างไร 

 

คุณเอ้ : มองเห็นอะไรในอีก 5-10 ปีข้างหน้าของ Cryptocurrency บ้าง และคิดว่าควรเตรียมตัวอย่างไร

คุณเก่ง : วันนี้เนี่ยเราต้องเข้าใจสภาพเศรษฐกิจโลก อย่างโควิดเนี่ยมาเร่งให้การทำเรื่องเกี่ยวกับ IT มันเติบโตเร็วขึ้น วันนี้ถ้าบริษัทไหนไม่สามารถขายของออนไลน์ได้คุณจบทันที อีกอย่างคือ way of work ก็เปลี่ยนไป โควิดทำให้ต้อง WFH เราจะต้องมองว่าใน 5-10 ปีเราต้องปรับตัวอย่างไร ตอนนี้โลกของเรามันเปลี่ยนแปลงแบบ Exponential ฉะนั้นเรื่องที่เคยเกิดขึ้นในอดีตมันจะมีความรุนแรงมากขึ้น เราต้องย้อนดูตัวเองว่า เครื่องมือการลงทุนของเราในการเก็บสินทรัพย์เพื่อให้มันงอกงามเนี่ย เรามี wealth management ดีแค่ไหน 

คุณโดม : พี่รู้สึกว่า มันจะกลายเป็นการ apply สิ่งที่เรากำลังทำเล่นๆกันอยู่ตอนนี้ ไปเข้าสู่ real sector ของ business ใน 5-10 ปีข้างหน้า มันจะกลายเป็นการ apply ธุรกิจเดิม IT ที่มีอยู่แล้วเนี่ยเข้าสู่ Blockchain

คุณตั้ม : ผมมองว่าในโลกยุคถัดไป จะเป็น Native Blockchain Application เป็นแอปพลิเคชั่นที่เกิดมาเป็น Blockchain เลย โดยที่ไม่ใช่การ adopt เอา Product ปัจจุบัน ตอนนี้เราอาจจะยังไม่เห็นสิ่งนั้น แต่ในอนาคตเราจะเห็นสิ่งที่ไม่เคยเห็นมาก่อน แต่เกิดขึ้นมาจาก Blockchain

สามารถติดตาม Live เต็ม ๆ ได้ที่ link

✦✦✦

ค้นหาเเละสมัครงานได้ที่ Job Opportunities in Thailand | Getlinks

0 0 votes
Article Rating
Subscribe
Notify of
guest
0 Comments
Inline Feedbacks
View all comments
0
Would love your thoughts, please comment.x
()
x