6 เหตุผลที่ทำให้เงินเดือนเป็นเรื่องลับสุดยอดในที่ทำงาน

ถ้าคุณเป็นคนที่อาศัยอยู่ในแถบเอเชียแปซิฟิก คุณอาจจะไม่รู้ว่าเพื่อนร่วมงานของตัวเองได้เงินเดือนเท่าไหร่ กว่า 52% ของลูกจ้างในแถบนี้ไม่เข้าใจว่าจะเปรียบเทียบรายได้ของพวกเขากับลูกจ้างคนอื่นยังไงดี และด้วยความที่ไม่มีเบาะแสเรื่องค่าตอบแทนใดๆ เราจึงทำได้เพียงแต่เดาว่าตัวเองได้เงินเดือนเท่ากับคนอื่นหรือไม่เท่านั้น

ขณะที่โลกฝั่งตะวันตกเริ่มผลักดันประเด็นความโปร่งใสในการจ่ายเงิน ประเทศแถบเอเชียยังคงล้าหลังกับมุมมองแคบๆ เรื่องค่าตอบแทน และบ่อยครั้ง บริษัทก็ออกกฎที่เข้มงวดเพื่อห้ามไม่ให้พนักงานคุยกันเรื่องเงินเดือนในที่ทำงานอีกด้วย หากไม่ทำตาม ก็เสี่ยงที่จะโดนลงโทษทางวินัยหรือแม้แต่โดนปลดออกได้เลย

ทำไมบริษัทถึงห้ามไม่ให้พูดเรื่องค่าตอบแทนกันนะ?

แม้จะขาดความโปร่งใสในเรื่องดังกล่าว แต่ก็มีเพียงไม่กี่คนที่ตั้งคำถามกับการจ่ายเงินอย่างลับๆ นี้ เพราะหลายประเทศการพูดคุยเรื่องเงินเดือนคือเรื่องไม่ที่ไม่เหมาะสม แน่นอนว่าเหตุที่บริษัทไม่สนับสนุนให้พนักงานคุยกันเรื่องเงินเดือนนั้น ไม่ใช่แค่บรรทัดฐานทางสังคมและวัฒนธรรมอย่างแน่นอน

เคยสงสัยไหมว่า เพราะอะไรเราถึงไม่สามารถคุยเรื่องเงินๆ ทองๆ ในที่ทำงานได้? นี่คือคำอธิบาย:

1. การมีข้อมูลที่ไม่เท่าเทียมกัน


คุณคงเคยได้ยินเรื่องข้อมูลที่ไม่เท่าเทียมกันมาบ้าง มันคือปรากฏการณ์ที่บุคคลหนึ่งในการทำธุรกรรมมีข้อมูลมากกว่าอีกบุคคลหนึ่ง นั่นหมายความว่า การไม่เปิดเผยข้อมูลเรื่องค่าตอบแทนเป็นโอกาสที่ผู้ว่าจ้างใช้เพื่อเอาเปรียบลูกจ้างได้นั่นเอง เพราะหากพวกเขาไม่รู้ว่าคนอื่นๆ ในทีมได้เงินเดือนเท่าไหร่ บริษัทก็สามารถจ่ายด้วยเงินเดือนขั้นต่ำได้ ทำไมต้องจ่ายมากกว่า ถ้าเกิดคุณไม่รู้ว่าจริงๆ แล้วตัวเองต้องได้เงินเท่าไหร่กันแน่?

2. ความรู้สึกทางลบ / หลีกเลี่ยงการปะทะ

คนส่วนใหญ่ไม่รู้ว่าจะรับมือกับข้อมูลที่เกี่ยวกับค่าตอบแทนอย่างไรโดยไร้อคติ ซึ่งท่าทีตอบสนองต่อความโปร่งใสนี้อาจรวมถึงการบอยคอตต์ ความบาดหมางไม่สิ้นสุด หรือแม้แต่ลาออก และเพื่อหลีกเลี่ยงสถานการณ์อันเลวร้าย ผู้ว่าจ้างจึงตัดสินใจไม่แชร์ข้อมูลที่ละเอียดอ่อนเหล่านี้ออกไป อย่างไรก็ตาม การตัดสินใจเช่นนี้ก็อาจนำมาสู่ผลลัพธ์ที่ตรงกันข้ามได้

ตัวอย่างจากชีวิตจริง: เมื่อหลายสิบปีก่อน ฝ่ายจัดการของนิตยสาร Vanity Fair ได้ส่งบันทึกหนึ่งเวียนไปทั่วบริษัท บันทึกนั้นระบุว่าห้ามลูกจ้างคุยกันเรื่องเงินเดือน แต่ผลที่ออกมากลับไม่เป็นไปอย่างที่คิด วันถัดมาต่อจากนั้น โดโรธี ปาร์คเกอร์, โรเบิร์ต เบนช์ลีย์ และโรเบิร์ต เชอร์วูด รวมถึงนักเขียนสายวรรณกรรมที่มีชื่อเสียงทุกคนมาทำงานพร้อมกับสัญลักษณ์ที่แสดงให้เห็นตัวเลขเงินเดือนของพวกเขา เพื่อพิสูจน์ว่านโยบายลับๆ ก็สามารถระเบิดใส่หน้าผู้จ้างได้เหมือนกัน

3. ข้อตกลงที่ดีกว่าของคนอื่น

บางคนเกิดมาเพื่อเป็นนักเจรจาโดยธรรมชาติ ขณะที่คนอื่นๆ เกิดมาเพื่อยอมรับข้อเสนอตั้งแต่แรก คนที่มั่นใจในตัวเองนั้นมีแนวโน้มที่จะได้เงินเดือนดีกว่า เพราะพวกเขารู้ว่าจะนำเสนอตัวเองออกมาได้อย่างไร ตรงกันข้าม ถ้าเป็นคนที่มีความมั่นใจตัวเองน้อยก็มักตกลงปลงใจรับโอกาสแค่เพียงปลายนิ้ว เพราะรู้สึกเขินอายเกินกว่าจะร้องขอมากกว่านั้น และยังหวังพึ่งความจริงใจจากผู้ว่าจ้าง แต่เมื่อไหร่ที่ได้เรียนรู้ว่านำเสนอตัวเองออกไปน้อยเหลือเกิน พวกเขาก็ต้องโมโหที่ผู้ว่าจ้างไม่ให้ค่ากับพวกเขามากกว่านี้

4. การขาดความโปร่งใสช่วยให้ปิดบังการเลือกปฏิบัติได้ง่ายขึ้น / ปิดบังการเลือกปฏิบัติ?

กว่า 45% ของลูกจ้างในแถบเอเชียแปซิฟิก รู้สึกว่าองค์กรของพวกเขาไม่สนับสนุนการปฏิบัติอย่างยุติธรรม รวมถึงความเท่าเทียมกันมากเท่าไหร่นัก หากคุณเป็นผู้หญิงหรือเป็นชนกลุ่มน้อย คุณอาจจะได้ค่าตอบแทนน้อยกว่าคนอื่นๆ ที่ทำงานแบบเดียวกัน เพื่อหลีกเลี่ยงเหตุผลเชิงการเมืองในองค์กร บริษัทจึงต้องเก็บข้อมูลเรื่องเงินเดือนไว้เป็นความลับ จะได้ไม่มีใครรู้สึกถึงการเลือกปฏิบัตินี้

ตัวอย่างจากชีวิตจริง: ฐานเงินเดือนของคนไทยเรียกได้ว่าต่ำที่สุด ขณะที่ชาวต่างชาติมีฐานเงินเดือนที่สูงกว่า อย่างไรก็ตาม ใช่ว่าทุกคนจะรู้เรื่องนี้ การขาดความโปร่งใสสามารถก่อให้เกิดความตึงเครียดและความไม่พอใจได้มากมาย ด้วยความที่ต้องทำตามกฎหมายเช่นกัน บริษัทจึงเลือกที่จะปฏิบัติต่อลูกจ้างอย่างแตกต่าง และสถานการณ์ก็อาจเกินควบคุมได้อย่างรวดเร็ว

5. เจ้านายของคุณหวังที่จะรักษาพนักงานระดับสูงเอาไว้

บริษัทของคุณ พยายามป้องกันไม่ให้คุณมองหาโอกาสที่ดีกว่าจากบริษัทอื่นด้วยการเก็บเรื่องเงินเดือนไว้เป็นความลับ (โดยเฉพาะเมื่อมันต่ำกว่ามาตรฐาน) จริงๆ แล้ว ความรู้สึกต่างๆ ของลูกจ้างอย่าง “ความพึงพอใจในหน้าที่การงาน” และ “ความตั้งใจจะลาออก” นั้นเกี่ยวโยงกันอย่างใกล้ชิดกับความสามารถของบริษัทในการสื่อสารเรื่องค่าตอบแทนให้ชัดเจน

ผลสำรวจจากนิตยสาร Harvard Business Review แสดงให้เห็นว่า “ความตั้งใจจะลาออก” นั้นลดลง โดยมีความเชื่อมโยงกับความพอใจของลูกจ้าง ต่อผลตอบแทนที่พวกเขาได้รับ กว่า 60% ของพนักงานในองค์กรที่มองว่าพวกเขาได้ค่าตอบแทนต่ำกว่าที่ควรจะเป็นนั้นมีความตั้งใจที่จะลาออก เมื่อเทียบกับอีก 39% ที่ต้องการทำงานต่อในองค์กรนี้

6. ฝ่ายจัดการของคุณกลัวว่าประสิทธิภาพในการทำงานจะลดลง

ความรู้สึกทางลบเรื่องค่าตอบแทนของคนๆ หนึ่ง สามารถทำให้ความมีประสิทธิภาพนั้นลดลงได้ ไม่ว่าเหตุผลที่อยู่ระหว่างช่องว่างของเงินเดือนนั้นคืออะไร แต่ลูกจ้างที่ “ได้ค่าตอบแทนต่ำกว่าที่ควรจะเป็น” นั้นอาจเริ่มทำงานแย่ลงได้ ต่อให้เหตุผลเหล่านั้นจะดูเป็นธรรมก็ตามที บรรดาลูกจ้างไม่ได้มองเงินเดือนเป็นแค่ค่าตอบแทนแบบที่เป็นตัวเงินเท่านั้น แต่พวกเขายังมองว่ามันคือคุณค่าที่เจ้านายมองเห็น เมื่อลูกจ้างรู้ว่าตัวเองได้ค่าตอบแทนต่ำกว่าเพื่อนร่วมงานคนอื่น ขวัญกำลังใจในการทำงานของพวกเขาก็จะลดลง ประสิทธิภาพในการทำงานก็ลดลง และอัตราการเปลี่ยนพนักงานก็จะทะยานสูงขึ้นเรื่อยๆ 

ความโปร่งใสในการจ่ายเงิน: ใช่ หรือ ไม่?

ผู้ว่าจ้างส่วนใหญ่นั้นมองว่า ความโปร่งใสของการจ่ายเงินจะพาลให้เรื่องทุกอย่างยุ่งยากไปหมด คนจะทะเลาะกัน จะเกิดการปะทะกับฝ่ายจัดการ หรือแม้แต่ส่งผลให้เกิดการลาออก ซึ่งข้อสันนิษฐานที่ถูกกล่าวมาทั้งหมดนำไปสู่คำกล่าวอ้างที่ว่า ไม่มีประโยชน์ที่จะเปิดเผยเรืองค่าตอบแทน ว่าแต่ มันเป็นอย่างนั้นจริงหรือ?

การทำลายความเชื่อที่มีเกี่ยวกับความลับในการจ่ายเงินนั้น เดวิด เบอร์คัส กล่าวไว้ว่า การแชร์เรื่องเงินเดือนอย่างเปิดเผยระหว่างบริษัท ไม่เพียงแต่เป็นประโยชน์ต่อลูกจ้าง แต่ยังเป็นประโยชน์ต่อผู้ว่าจ้างอีกด้วย เมื่อเราไม่รู้ว่าคนอื่นได้ค่าตอบแทนเท่าไหร่ มันก็จะยิ่งทำให้เรารู้สึกว่าตัวเองได้ค่าตอบแทนต่ำกว่าที่ควรจะเป็นมากขึ้นเท่านั้น หรือแม้แต่รู้สึกว่าถูกเลือกปฏิบัติ ซึ่งนั่นจะทำให้เราขาดแรงจูงใจและไม่มีความสุขในการทำงานได้

องค์กรที่มีความโปร่งใสในการจ่ายเงิน จะเห็นได้ถึงการลดลงของการเลือกปฏิบัติ รวมถึงเพิ่มมุมมองของความยุติธรรมในองค์กรมากยิ่งขึ้น

ใช่แล้ว บริษัทอาจประหยัดเงินด้วยการเล่นกับความโปร่งใสในการจ่ายเงิน แต่เพื่อที่จะรับประกันให้เกิดความพอใจในที่ทำงาน ผู้ว่าจ้างก็จำเป็นที่จะต้องสนับสนุนความเปิดเผยและความจริงใจด้วย ปัจจุบันมีบริษัทในเอเชียเพียงไม่กี่แห่งเท่านั้น ที่สนับสนุนให้เกิดการจ่ายเงินอย่างโปร่งใส ถึงแม้บริษัทจะอยากลดค่าใช้จ่ายและพยายามกระตุ้นให้เกิดการเติบโตที่รวดเร็ว แต่ก็ควรอยู่บนพื้นฐานของความยุติธรรมด้วย

นอกจากนี้ บริษัทจะต้องคำนึงถึงความรวดเร็วของการพัฒนาในภูมิภาคด้วย อีกไม่นานผู้ว่าจ้างในแถบเอเชียจะตระหนักว่า ความเปิดเผยในองค์กรส่งผลต่อการมีส่วนร่วมและประสิทธิภาพในการทำงานมากขนาดไหน ความโปร่งใสนี่เองที่จะกลายเป็นแรงขับเคลื่อนความเจริญเติบโตในด้านเศรษฐกิจที่ยั่งยืน เพราะมันช่วยสร้างสภาพแวดล้อมของความไว้วางใจและความจงรักภักดีให้แก่องค์กร

ที่ GetLinks เราเชื่อในเรื่องความโปร่งใสโดยสมบูรณ์ของการจ่ายเงินเดือน นั่นคือเหตุผลที่เราทำรายงานเงินเดือนขึ้นมา เพราะเราปรารถนาให้ผู้สมัครทุกคนได้งานที่พวกเขาคู่ควร รวมถึงต้องการช่วยเหลือบริษัทในการคัดเลือกบุคลากร และจ้างคนเข้าทำงานด้วยความเข้าใจ


จงรู้ค่าของตัวเอง! แล้วมาหาที่ๆ คุณจะได้รับค่าตอบแทนสูงสุดกันเถอะ –  ดูรายงานเงินเดือนจาก GetLinks ได้ที่นี่

 

 

เริ่มออกแบบอาชีพของคุณตั้งแต่วันนี้เลย

อย่ามัวแต่รอให้โอกาสเข้ามาหา คุณสามารถเข้าหาโอกาสดีๆ ได้ด้วยตัวเอง! เราพร้อมช่วยเหลือในก้าวแรกบนหนทางสู่การผจญภัยในอนาคตของคุณ มาออกตามหาโอกาสทางอาชีพใหม่ๆ บนความก้าวหน้าและนวัตกรรมที่ทันสมัย ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของ GetLinks ตั้งแต่วันนี้เลย!

ค้นหาเเละสมัครงานได้ที่ Job Opportunities in Thailand | Getlinks

0 0 votes
Article Rating
Subscribe
Notify of
guest
1 Comment
Oldest
Newest Most Voted
Inline Feedbacks
View all comments
มานี
มานี
กุมภาพันธ์ 1, 2020 6:28 AM

ปัญหาจะเกิด มาจากกว่าถ้า ความลับเรื่องตัวเลขถูกแชร์แบบโปร่งใส เพราะอะไร ? มนุษย์ทุกคนชอบเปรียบเทียบ แม่มันจะฟังดูเท่ห์ ว่าโปร่งใส จริงใจดี แต่ในชีวิตจริง ความลับเรื่องรายได้นี้ โปร่งใสคือ ความอิจฉาริษยา ในกลุ่ม เพื่อนร่วมงาน ทุกระดับชั้น คุณควรไปเรียน HR กันใหม่นะ บล๊อกเกอร์คนนี้

1
0
Would love your thoughts, please comment.x
()
x