ปอกเปลือกระบบนิเวศ Blockchain และ Distributed Ledger ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

Blockchain และ Distributed Ledger
ในปี 2008 ชายลึกลับในชื่อ Satoshi Nakamoto ได้เผยแพร่ Bitcoin: A Peer-to-Peer Electronic Cash System สู่สาธารณะชน และทำให้เกิดปรากฏการณ์ใหม่ในโลก ซึงก็คือ blockchain

จากนั้นมาความสับสนเกี่ยวกับเทคโนโลยีนี้ก็เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ bitcoin, blockchain, distributed ledger, cryptocurrency คือจำนวนหนึ่งในหลายคำที่เรามักได้ยินบ่อย ๆ คำศัพท์เหล่านี้คืออะไร และพวกมันสัมพันธ์กันอย่างไร

อธิบายแบบง่าย ๆ Distributed Ledger Technology (DLT) คือระบบบันทึกรายการธุรกรรมดิจิทัลบนคอมพิวเตอร์หลายเครื่องในเวลาเดียวกัน blockchain เป็นเพียงประเภทหนึ่งของ DLT และการเก็บบันทึกรูปแบบอื่นที่มีเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ โดย DLT นี้ถูกนำมาใช้ใน bitcoin ซึ่งเป็นเพียงสกุลเงิน cryptocurrency หนึ่งเท่านั้น ไม่ถึงหนึ่งทศวรรษหลังจาก Nakamoto ตีพิมพ์สมุดปกขาวดังกล่าว blockchain ก็ได้แสดงถึงศักยภาพที่จะปฏิวัติการปฏิสัมพันธ์กับดาต้าของเราแบบไม่เหลือเค้าเดิม บางคนก็พูดกันว่า blockchain จะเข้ามาเปลี่ยนแปลงดาต้าในแบบที่อินเตอร์เน็ตได้เปลี่ยนแปลงข้อมูล

เรามาเริ่มกันด้วยกำไรส่วนหนึ่งที่ DLT สามารถสร้าง ขนาดของตลาด blockchain ทั่วโลกอาจเพิ่มสูงถึง 2,312.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2021 ในส่วนของการลงทุน มูลค่าการซื้อขายหุ้นในสตาร์ตอัพฝั่ง blockchain ทะยานจาก 98 ล้านดอลลาร์สหรัฐจากการตกลงซื้อขาย 50 รายการในปี 2013 ไปเป็น 640 ล้านดอลลาร์สหรัฐจาก 144 รายการ ในปี 2017 นอกเหนือจากเม็ดเงิน blockchain ยังสามารถทำประโยชน์ให้สังคมในทุกด้านด้วยการลดค่าใช้จ่ายการดำเนินธุรกิจ ลดเวลาสรุปยอดธุรกรรม ลดความเสี่ยง สร้างโอกาสทำรายได้ และลดต้นทุน

ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (SEA) มีประชาชนเพียง 27% จาก 600 ล้านคนที่มีบัญชีธนาคาร แต่กลับมีบริษัท blockchain มากกว่า 250 แห่ง โดยส่วนมากตั้งอยู่ในประเทศสิงคโปร์ ฟิลิปปินส์ เวียดนาม มาเลเซีย และไทย เทคโนโลยีนี้ยังอยู่ในขั้นแรกเริ่มสำหรับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว บรูไน กัมพูชา และพม่า

ในปัจจุบัน สำหรับเทคโนโลยีบันทึกการทำธุรกรรมและดาต้า เห็นได้ชัดว่า FinTech เป็นทางเลือกที่เหมาะสมและ cryptocurrency ก็มีฐานผู้ใช้งานเหนียวแน่นอยู่เสมอในทวีปเอเชีย

เราลองมาดูตัวอย่างบริษัท FinTech สุดล้ำที่ใช้ blockchain กัน!

LaLa World ก่อตั้งขึ้นในสิงคโปร์ในปี 2016 พวกเขาพยายามเชื่อมเงินสดและโลกดิจิตอลเข้าด้วยกันเพื่อสนับสนุนให้คนที่ไม่มีบัญชีธนาคาร ไม่มีเอกสารยืนยันตัวบุคคล นักเรียน นักศึกษา และคนอื่น ๆ ที่ถูกกีดกันเข้ามามีส่วนร่วมในโลกการเงิน โดยได้ขยายสาขาไปยังประเทศมาเลเซีย อินเดีย ดูไบ และสหราชอาณาจักรแล้ว AND Global ก็เป็นอีกหนึ่งบริษัทที่น่าสนใจ พวกเขาคือบริษัท FinTech ที่กำลังขยายสาขาไปทั่วเอเชียอย่างรวดเร็วโดยมี machine learning และพนักงานระดับหัวกะทิเป็นผู้ขับเคลื่อน Pundi X Labs ก็พยายามทำให้การเงินเข้าถึงได้ง่ายขึ้นเช่นกัน โดยส่งเสริมให้นักพัฒนา blockchain และผู้ถือโทเคนทำธุรกรรมด้วย cryptocurrency และบริการ crypto service ตามหน้าร้านค้าใดก็ตามในโลก อีกหนึ่งยักษ์ใหญ่สัญชาติสิงคโปร์ที่น่าจับตามองก็คือ OmiseGO บริษัทที่พยายามสร้างการไม่แบ่งแยกทางการเงินและการทำงานร่วมกันด้วยเครือข่าย OMG สาธารณะแบบไม่มีระบบข้อมูลกลาง

 

Lala World
บริษัทสัญชาติสิงคโปร์ Lala World เชื่อมต่อผู้คนที่ไม่มีบัญชีธนาคาร ไม่มีเอกสารยืนยันตัวบุคคล นักเรียน นักศึกษา และคนอื่น ๆ ที่ถูกกีดกันจากโลกการเงินด้วย blockchain

แต่ไม่ใช่แค่ FinTech อย่างเดียวเท่านั้น ที่ใดมีดาต้า blockchain ก็เข้าไปมีบทบาทสำคัญได้ และก็รู้ ๆ กันว่าปัจจุบันดาต้าได้กลายมาเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมทุกอย่างของเราไปแล้ว

เมื่อธรรมชาติของ blockchain คือการพลิกโฉมเครือข่ายทั้งเครือข่าย จึงไม่ต้องแปลกใจว่ามีการใช้เทคโนโลยีนี้ระหว่างผู้ประกอบการกับผู้ประกอบการ (B2B) กันอย่างแพร่หลาย ในตลาดพลังงานไฟฟ้ามี Electrify ที่ก่อตั้งขึ้นเพื่อเพิ่มความโปร่งใสและกำจัดปัญหาค่าบริการที่ต้องจ่ายให้คนกลาง บริษัทที่ตั้งอยู่ในสิงคโปร์นี้ทำเงินได้ถึง 30 ล้านดอลลาร์สหรัฐภายในสิบวันในการขายโทเคน ส่วนการติดตามสินค้าก็มีอยู่สองบริษัทที่น่าจับตามอง บริษัทแรกคือ LuxTag ที่ตั้งอยู่ในมาเลเซีย ซึ่งให้การรับรองสินค้าลิขสิทธิ์ที่ไม่สามารถปลอมแปลงได้ ทำให้สินค้าฟุ่มเฟือยทั้งหลายมีมูลค่าการขายต่อมากขึ้น โดยบริษัททำรายได้ไปถึง 1.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ บริษัทที่สอง Linfinity ติดตามผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางและยา แต่ข้อโดดเด่นของ Linfinity อยู่ที่การชักชวนผู้ลงทุนรายย่อยและชุมชนให้หันมาสนใจ blockchain ให้ความรู้เกี่ยวกับ blockchain เพื่อลดความไม่เชื่อมั่นใน blockchain ซึ่งมักเป็นผลมาจาก crypto ที่ไม่อาจคาดคะเนและผู้ก่อตั้งตัวดีที่หายเข้ากลีบเมฆหลังการทำ ICO

แต่ความคึกคักไม่ได้มาจากเพียงธุรกิจ blockchain แบบ B2B เท่านั้น ยังมีบริษัทที่ทำธุรกิจระหว่างผู้ประกอบการและผู้บริโภค (B2C) ซึ่งสร้างผลิตภัณฑ์และบริการที่ยึดผู้ใช้เป็นศูนย์กลาง โดยพยายามปฏิวัติการปฏิสัมพันธ์กับดาต้าของผู้คนและเพิ่มการเชื่อมต่อทางสังคม แน่นอนว่าเราได้ติดตามการขับเขี้ยวระหว่าง Grab และ Go-Jek ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แต่เมื่อเร็ว ๆ นี้มีบริษัทที่ใช้ blockchain เกิดขึ้นสองแห่งที่สองบริษัทแรกก็ประมาทไม่ได้ DACSEE เป็นบริการรถร่วมเดินทางแบบไม่มีระบบข้อมูลกลางและดำเนินการโดยไม่ใช้คนเจ้าแรกของโลก ส่วน MVL บริษัทสตาร์ตอัพจากเกาหลีใต้ออกแอปพลิเคชันขับขี่่ TADA ซึ่งเปลี่ยนคะแนนสะสมเป็นเหรียญเพื่อชวนผู้ใช้ให้เข้ามาใช้งานเป็นประจำ Indorse ก็เป็นอีกหนึ่งดาวรุ่งที่มีจุดมุ่งหมายคือการคืนความเป็นเจ้าของดาต้าให้กับผู้ใช้งานและทำให้พวกเขาสามารถหากำไรจากการแบ่งปันทักษะและกิจกรรมต่าง ๆ บนแพลตฟอร์ม ส่วนในอีกวงการที่ไม่ห่างกันมากนัก บริษัทจากสิงคโปร์อย่าง Enjin เป็นแพลตฟอร์มเว็บไซต์เกมที่ใหญ่ที่สุดที่ผู้ใช้สามารถเป็นเจ้าของไอเทมดิจิตอลได้อย่างแท้จริงผ่านเทคโนโลยี blockchain

 

Grab และ Go Jek
Grab และ Go Jek สองคู่แข่งที่โด่งดังที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นตัวอย่างที่สำคัญของบริษัทที่ประสบความสําเร็จในการใช้เทคโนโลยี blockchain

 

อาจสังเกตุได้ไม่ยากว่าประเทศสิงคโปร์เป็นดาวเด่นในระบบนิเวศที่กำลังเฟื่องฟูนี้ มีเหตุผลอยู่สองข้อคือ ข้อแรกสิงคโปร์เป็นผู้กำหนดชะตาอุตสาหกรรมหลายอย่างที่น่าจะได้ประโยชน์จากเครือข่าย supply chain ที่ชัดเจนขึ้น สิงคโปร์เป็นจุดเชื่อมต่อสำคัญในการค้าน้ำมันและก๊าซ และยังมีแผนจะขยายการใช้งาน blockchain ข้อทึ่สอง สิงคโปร์เป็นชาติที่เปิดรับ การระดมทุนผ่านเงินสกุลดิจิตอล (ICO) มากที่สุดใน SEA โดยยิ่งเปิดกว่างกว่าเดิมเมื่อจีนออกกฎห้าม ICO โดยสิ้นเชิง คุณอาจสงสัยว่า ICO คืออะไร มันคือกลไกระดมทุนแบบใหม่สำหรับการแลกเปลี่ยนซื้อขายด้วยโทเคนและกำลังเป็นที่นิยมอย่างรวดเร็วในหมู่บริษัท blockchain มากกว่าการระดมทุนด้วยการร่วมลงทุนหุ้นแบบเดิม

เราได้เห็นบริษัท DLT และการใช้เทคโนโลยีแบบล้ำ ๆ กันไปบ้างแล้ว แต่ทำไม SEA ถึงมีสภาพแวดล้อมเหมาะสมที่สุดสำหรับนวัตกรรม blockchain ล่ะ ความสำเร็จนี้เกิดขึ้นได้ด้วยความสัมพันธ์ซึ่งเอื้อประโยชน์ต่อกันระหว่างภาครัฐ ผู้ตั้งกฎ ธนาคาร และชุมชนสตาร์ตอัพ กลุ่มต่าง ๆ เหล่านี้ร่วมมือกันเพื่อหาทางออกที่เป็นผลดีกับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง รัฐบาลของทุกประเทศใน SEA เปิดรับเทคโนโลยีนี้และบุกเบิกการส่งเสริมนวัตกรรมดังกล่าว แพลตฟอร์มการค้าแห่งชาติ (NTP) ของสิงคโปร์มี digital ledger เป็นรากฐาน ในฟิลิปปินส์ blockchain จะถูกนำมาใช้ในกระบวนการจัดซื้อ ส่วนประเทศไทยได้เปิดตัวโครงการอินทนนท์ที่ธนาคารและหุ้นส่วนเทคโนโลยีจับมือกันเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพโครงสร้างพื้นฐานของตลาดการเงินไทย โครงการการริเริ่มโดยรัฐบาลเหล่านี้ทำให้มั่นใจว่าระเบียบข้อบังคับต่าง ๆ ในเอเชียชัดเจนกว่าและไม่กำกวม รวมทั้งมีการเปิดกว้างในการแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง

แม้จะมีการสนับสนุนจากรัฐบาล เทคโนโลยีใหม่ล้วนแต่มีความท้าทายในตัวของมันเอง

ข้อแรกคือผลกระทบทางชื่อเสียงที่บางบริษัทต้องเผชิญ ด้วยความไม่เชื่อใจที่เกิดจากการหลอกขาย ICO และความสัมพันธ์ของ bitcoin กับเว็บมืด เช่นเดียวกัน แม้ใน SEA ที่ภาครัฐเปิดกว้างต่อเทคโนโลยีดังกล่าว ก็ยังมีปัญหาในการกำกับดูแล และ Statista พบว่ามีประมาณ 39 เปอร์เซ็นต์ของผู้ตอบแบบสอบถามใน การสำรวจของ Statista ที่ระบุว่าปัญหาในการกำกับดูเป็นปัญหาสำหรับองค์กรเมื่อมีการพิจารณาว่าจะเพิ่มการลงทุนในเทคโนโลยี blockchain ดีหรือไม่ ซึ่งชี้ให้เห็นว่ายังคงมีความคลุมเครือในการกำกับดูแล blockchain อยู่ไม่ว่าที่ใดในโลก

แต่โอกาสที่ blockchain สามารถสร้างขึ้นใน SEA นั้นมีน้ำหนักกว่าความท้าทายที่มีเป็นไหน ๆ

SEA ขึ้นชื่อในเรื่องผลิตภัณฑ์และบริการ B2C แบบออนดีมานด์ที่สร้างสรรค์และเอาใจผู้ใช้ ลองนึกถึง Lazada, Grab และ Traveloka ดู ธุรกิจทั้งหมดนี้ล้วนแต่เติบโตขึ้นได้ด้วย blockchain ในขณะที่บริษัทเหล่านี้มีคนรู้จักมากขึ้นทั่วโลกและเพิ่มบริการต่าง ๆ เข้ามา พวกเขาจำเป็นต้องเพิ่มประสิทธิภาพโดยการสร้างการเก็บบันทึกธุรกรรมแบบไม่สามารถแก้ไขได้เพื่อใช้ระหว่างผู้ถือผลประโยชน์ เทคโนโลยีนี้ยังสามารถเพิ่มแหล่งที่มาของซัพพลายเชนอาหาร เพื่อบรรเทาความเบื่อหน่ายของผู้บริโภคในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ต่ออาหารที่ระบุรายละเอียดไม่ตรงกับความเป็นจริงและอาหารปนเปื้อนซึ่งนับวันจะยิ่งเพิ่มขึ้น ซึ่งทำให้มีการนำร่องเทคโนโลยี blockchain ในซัพพลายเชนอาหาร

แต่ที่สำคัญที่สุด blockchain สามารถพลิกโฉมรากฐานของเศรษฐกิจใน SEA โดยการสร้างโอกาสให้คนที่ไม่มีบัญชีธนาคารสามารถใช้บริการพื้นฐานที่พวกเขาต้องการเพื่อแก้ไขสถานการณ์การเงินของตัวเอง อีกไม่นานเราจะได้เห็นคนที่ไม่มีบัญชีธนาคารและขาดโอกาสสร้างความสำเร็จในระบบการเงินปัจจุบันสามารถยกระดับสถานะทางการเงินได้มากขึ้น DLT อาจเข้ามามีบทบาทสำคัญในการย้ายอำนาจไปสู่มือของคน 73% ใน SEA ที่ไม่มีบัญชีธนาคาร

 

 

 

เริ่มออกแบบอาชีพของคุณตั้งแต่วันนี้เลย

อย่ามัวแต่รอให้โอกาสเข้ามาหา คุณสามารถเข้าหาโอกาสดีๆ ได้ด้วยตัวเอง! เราพร้อมช่วยเหลือในก้าวแรกบนหนทางสู่การผจญภัยในอนาคตของคุณ มาออกตามหาโอกาสทางอาชีพใหม่ๆ บนความก้าวหน้าและนวัตกรรมที่ทันสมัย ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของ GetLinks ตั้งแต่วันนี้เลย!

0 0 votes
Article Rating
Subscribe
Notify of
guest
0 Comments
Inline Feedbacks
View all comments
0
Would love your thoughts, please comment.x
()
x